รู้ก่อนป้องกันได้! ตรวจสมองเสื่อมด้วย AlzOn ความแม่นยำสูงสุด 80% 

รู้ก่อนป้องกันได้! ตรวจสมองเสื่อมด้วย AlzOn ความแม่นยำสูงสุด 80% 

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งเป็นสังคมที่มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ หรือ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด โดยจากสถิติพบว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2548 เป็นเท่าตัว ดังนั้นภาวะด้านสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขอย่างปฏิเสธไม่ได้ 

 

โดยส่วนมากในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 5 คน และในผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป พบภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่อันตรายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตทั้งกับผู้ป่วยรวมไปถึงภาวะทางจิตใจของครอบครัวร่วมด้วย ดังนั้นการตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคสมองเสื่อม จึงเป็นสิ่งที่คนในครอบครัวผู้สูงอายุควรให้ความใส่ใจ เพื่อชะลอความรุนแรงของอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจสมองเสื่อมตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

ภาวะสมองเสื่อม อาการหลงลืมที่ไม่ควรมองข้าม!

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia คือภาวะทางสมองที่เกิดจากจำนวนเซลล์สมองที่ทำงานได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยส่วนมากพบอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามภาวะโรคสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุน้อยได้เช่นกัน เป็นสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรม โรคติดเชื้อในสมอง โรคหลอดเลือด หรือการได้รับสารพิษ ฯลฯ ที่ส่งผลให้สมองฝ่อเหี่ยวลงจากปกติ ทำให้เกิดอาการหลงลืม มีปัญหาด้านความจำ อารมณ์ ความนึกคิด รวมไปถึงบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

AlzOn การตรวจสมองเสื่อมที่มีความแม่นยำสูงในปี 2025

จากการพัฒนาชุดวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์จากเลือด (Blood-based dementia diagnostic kit)

โดยบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ถือเป็นความสำเร็จในวงการแพทย์ด้านโรคอัลไซเมอร์ที่เปลี่ยนโฉมการตรวจในปัจจุบันไปโดยสิ้นเชิง โดย AlzOn จัดว่าเป็นชุดวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากเลือดเพียงชุดเดียวที่ใช้ในสถานพยาบาลทั่วโลก 

 

AlzOn เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจสมองเสื่อมจากการตรวจจับการรวมตัวของโปรตีนอะไมลอยด์-เบต้า (Amyloid beta) ที่เป็นพิษในเลือด ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโดยขั้นตอนการรวมตัวของโปรตีนที่เป็นพิษตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะลุกลามไปสู่การเกิดโรคอัลไซเมอร์ ด้วยความแม่นยำในการวินิจฉัยอยู่ระหว่าง 80-90% ที่ถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดตรวจอื่นๆ ในปัจจุบัน

 

ความอันตรายของโรคอัลไซเมอร์อย่างที่ทราบกันดีว่า เป็นโรคทางระบบประสาทที่ลุกลามส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและตายอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสูญเสียความทรงจำ การรับรู้ลดลง และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ป่วย ซึ่งโดยปกติแล้วการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์นั้นจะใช้การทดสอบความรู้ความเข้าใจ การถ่ายภาพสมอง และการวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง แต่ในส่วนของ AlzOn จะช่วยให้การตรวจสมองเสื่อมนั้นแตกต่างไปเพียงแค่การตรวจเลือดเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถทราบได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจสมองเสื่อมจะเป็นมีโอกาสสูงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ภายใน 15 ปีอีกด้วย

Amyloid beta : อะไมลอยด์-เบต้า (AB) โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม

โรคอัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อสมอง โดยเกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า อะไมลอยด์-เบต้า (amyloid beta) เป็นโปรตีนชนิดไม่ละลายน้ำ ที่หากเกิดการจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองฝ่อและเสื่อมลง อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสียหายกระทบต่อการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง เนื่องจากสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ที่ลดลงผิดปกติ ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำของมนุษย์

 

การสะสมของ Amyloid beta จะค่อยๆ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองถดถอยลงเรื่อยๆ เริ่มต้นจากสมองส่วน Hippocampus ที่มีหน้าที่จดจำข้อมูลใหม่ๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเริ่มต้นที่เห็นได้ชัดคือปัญหาด้านความจำระยะสั้น หลังจากนั้นความเสียหายของสมองจะลุกลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ด้านภาษา ความคิด และพฤติกรรม

การตรวจการเกาะกลุ่ม โอลิโกเมอไรซ์ อะโมลอยด์-เบต้า (AB Oligomerization)

การตรวจการเกาะกลุ่มของการตรวจ อะไมลอยค์-เบต้า (AB) สามารถบอกอะไรได้บ้าง

  • การวัดระดับการก่อตัวของอะไมลอยด์-เบต้า (AB) ในเลือด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาไปสู่อาการสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์
  • โรคอัลไซเมอร์ เริ่มต้นจาก AB Oligomerization นานถึง 20-30 ปีก่อนที่จะเกิดอาการสมองเสื่อม ซึ่งการตรวจ AlzOn สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรกสุดได้จากเลือด
  • ช่วยประเมินความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น ทำให้สามารถตรวจพบและรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก

ผลการทดสอบและแนวทางการติดตามผล แต่ละกลุ่มความเสี่ยง

  • ความเสี่ยงต่ำ < 0.9 (Low Risk)

หากสงสัยว่าความสามารถในการรับรู้และการจดจำ มีความเสี่ยงเสี่ยงน้อย และหากไม่มีการลดลงของสมรรถภาพทางสมอง การทดสอบซ้ำหลังจาก 24-36 เดือน

  • ความเสี่ยงปานกลาง 0.9 – 1.0 (Intermediated Risk)

หากสงสัยว่าความสามารถในการรับรู้และการจดจำมีความเสี่ยงปานกลาง และควรทำการทดสอบซ้ำหลังจาก 12-18 เดือน พร้อมกับการจัดการโรคพื้นฐานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย

  • ความเสี่ยงสูง > 1.0 (High Risk)

หากสงสัยว่าความสามารถในการรับรู้และการจดจำลดลงมีความเสี่ยงสูง ควรเข้ารับการตรวจเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเสื่อมโดยเร็วที่สุด พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเข้มงวด และควรทำการทดสอบซ้ำหลังจาก 6-12 เดือน

โรคอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อมแตกต่างกันอย่างไร?

โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม มีความแตกต่างกันซึ่งหลายคนเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคทั้ง 2 นี้ แท้จริงแล้วภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่มีผลจากการเสื่อมของสมองหลายส่วนรวมกัน ส่วนมากพบได้ในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 

  • ภาวะสมองเสื่อมที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

เป็นภาวะที่พบได้ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยสมองเสื่อมทั้งหมด มีสาเหตุมาจากโรคทางกายต่างๆ เช่น เนื้องอกในสมองบางชนิด หลอดเลือดสมองตีบตัน เลือกออกในสมอง โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ และการขาดวิตามินบี 12 เป็นต้น

  • ภาวะสมองเสื่อมที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

เป็นภาวะที่พบได้ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยสมองเสื่อมทั้งหมด ซึ่งโรคอัลไซเมอร์คือหนึ่งในสาเหตุนี้ในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 50 และในส่วนที่เหลือจะเป็นโรคอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมองที่คล้ายกับอัลไซเมอร์ประมาณ 5-6 โรค ทำให้หลายคนรู้จักกับโรคอัลไซเมอร์มากกว่าโรคอื่นๆ นั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม อายุ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ เนื่องจากสถิติพบว่าผู้ที่มีอายุมากขึ้นจะมีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้นตามไปด้วย โดยในปัจจุบันพบว่าผู้ที่มีอายุราวๆ 65 ปี พบว่าป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 5  ผู้ที่มีอายุราวๆ 75 ปี พบที่ประมาณร้อยละ 15 และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบในสัดส่วนที่มากถึงร้อยละ 40 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหากมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น ทว่าไม่เพียงแต่ปัจจัยด้านอายุเท่านั้นที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น แต่โรคนี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นกัน ซึ่งความแตกต่างคือผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการทางสมองให้เห็นได้ชัดตั้งแต่อายุ 50-60 ปี และมักพบในสัดส่วนที่น้อยกว่าเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น

 

ภาวะสมองเสื่อมด้วยโรคอัลไซเมอร์มีระยะการฟักตัว 10-15 ปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการให้เห็น โดยทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคอัลไซเมอร์แฝง ซึ่งในระหว่างที่การฟักตัวผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดให้สังเกตเห็น จนเมื่อโรคดำเนินมาถึงจุดที่อาการปรากฏจึงตรวจพบว่าได้เสียเนื้อสมองไปในสัดส่วนที่มาแล้ว ส่งผลต่อการรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพสมองให้กลับมาปกติใกล้เคียงเดิมได้ ดังนั้นการตรวจสมองเสื่อมเพื่อให้ทราบได้ก่อนเป็นระยะเวลานาน ย่อมส่งผลดีต่อการรักษาและการรับมือที่ทันท่วงทีได้ดีกว่านั้นเอง

 

ติดต่อสอบถาม ฮักษาคลินิก จันทบุรี

เบอร์โทร : 096-919-4942

LINE : @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

 

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ