โปรแกรมตรวจสุขภาพ

วิธีการเลือก โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี ให้สุขภาพดีอย่างยั่งยืน

วิธีการเลือก โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี ให้สุขภาพดีอย่างยั่งยืน

 

สุขภาพ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล เมื่อมีสุขภาพที่ดีย่อมทำให้สุขภาพทางจิตสมบูรณ์ตามมาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าการมีสุขภาพที่แข็งแรงต้องแลกมาด้วยการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับวัย และการให้ความใส่ใจต่อการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามแม้ว่าบางคนดูแลสุขภาพอย่างเป็นนิสัย แต่เชื่อหรือไม่ว่าโรคต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว ด้วยปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น มลภาวะ พฤติกรรมในการทำงาน ไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิต หรือ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นทางที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันและรับมือกับโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีคือการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด 

ไฮท์ไลท์ที่ต้องรู้! ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี

 

  • การเกิดโรค ความเจ็บป่วย ความเสี่ยงทางสุขภาพไม่ได้เกิดจากปัจจัยระดับบุคคลเท่านั้น สภาพแวดล้อมที่บุคคลเกิด เติบโต ทำงาน และดำรงชีวิตอยู่ ไปจนถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ล้วนเป็นปัจจัยทางสังคมสำคัญที่ส่งผลกำหนดสุขภาพของประชาชน 

 

  • ในปี 2565 สัดส่วนผู้สูงอายุของไทยได้เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดทำให้สังคมไทยเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” และในปี 2583 คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของประชากรทั้งหมด การเตรียมการเข้าสู่สังคมสูงอายุในทุกระดับ หรืออีกไม่ถึงยี่สิบปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน ทั้งระดับบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศ

 

  • 1-10 ของคนไทยมีความไม่มั่นคงทางด้านอาหารระดับรุนแรง สมาชิกในครัวเรือนเปราะบางเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแล

 

  • ผู้หญิงมีความเสี่ยงทางสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ชาย แต่มีอัตราตายจากการฆ่าตัวตายต่ำกว่า

 

  • คนทำงานการผลิตและการบริการสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มอื่น ขณะที่คนทำงานบริหารดื่มแอลกอฮอล์และมีภาวะอ้วนมากที่สุด

 

ข้อมูลจาก : รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2566



จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสุขภาพของคนไทยในปีที่ผ่านมานั้นยังคงมีความน่าเป็นห่วงในภาพรวม แม้ว่าจะมีการรณรงค์และให้ความรู้ด้านสุขภาพจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นสำคัญคือหน้าที่ในการเข้าใจสุขภาพตนเองเป็นพื้นฐานสำคัญที่เริ่มต้นได้ที่ตนเองก่อน ซึ่งในบทความนี้เราได้รวบรวมวิธีการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ได้ตระหนักถึงและสร้างวินัยให้กับตนเองไปปีถัดไปได้ดียิ่งขึ้น

 

การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร?

 

การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองโรคเบื้องต้นประจำปี เพื่อให้ทราบความเสี่ยง ทราบถึงภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อทำการรักษาและป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยมีการบันทึกประวัติการตรวจไว้ใช้วางแผนการรักษาในอนาคตได้ กล่าวคือการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการตรวจเช็คร่างกายให้ทราบความผิดปกติ หรือ ทราบว่าควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเรื่องใดมากขึ้น ให้ได้สามารถป้องกัน รักษา และรู้เท่าทันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตามการลบแนวความคิดของใครหลายๆ คนเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีที่ว่า “ไม่ตรวจสุขภาพเพราะกลัวว่าจะพบภาวะที่อาจทำให้เกิดโรค แล้วส่งผลให้ตนเองวิตกกังวลจนเกินไป” ความคิดนี้เป็นความกลัวที่ผิดและควรปรับแนวความคิดใหม่ เพราะร่างกายของคนเรานั้นสามารถเกิดโรคได้ไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง แม้ว่าตนเองจะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีก็ตาม อวัยวะภายในที่คุณมองไม่เห็นอาจหรือที่ร่างกายไม่แสดงอาการ ไม่ได้การันตีสุขภาพแข็งแรงอย่างที่คุณเข้าใจ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะทำให้คุณเข้าใจร่างกายของตัวเองและสามารถดูแลสุขภาพให้ดีมากขึ้นได้

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญอย่างไร?

การมีความรู้ความเข้าใจในเกี่ยวกับโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลรักษาสุขภาพของแต่ละบุคคล ไม่เพียงแต่จะมีความจำเป็นต่อกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อทุกเพศทุกวัยในการสร้างวินัยที่ดีในการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี ซึ่งช่วยให้รู้เท่าทันปัจจัยต่างๆ ที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคได้ในอนาคต เพื่อให้ได้ทราบแนวโน้มล่วงหน้าและมีการปรับพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่โรคต่างๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจึงสรุปได้ว่าเป็นแนวทางที่การป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการรู้ก่อนรักษาก่อนให้ห่างไกลจากโรคร้ายได้มากขึ้นนั่นเอง

วิธีเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสม

การเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุ เพศ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทำให้การเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพควรเหมาะสมกับตนเองและมีความสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ มากที่สุด โดยมีวิธีการพิจารณาดังต่อไปนี้

  • ประเมินความต้องการด้านสุขภาพและรู้เท่าทันสุขภาพของตนเอง

เริ่มต้นการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพด้วยการประเมินสุขภาพร่างกายของตนเอง เพื่อให้ทราบถึงโรคประจำตัว ภาวะความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรค โดยการตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจสุขภาพหลังจากการผ่าตัด หรือ หลังจากการรักษาโรค ตลอดจนการตรวจสุขภาพเฉพาะทาง เช่น การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคที่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้คำแนะนำที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน

  • มองหาสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปีที่ดีควรมองหาสถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ที่มีความชำนาญ สามารถให้คำปรึกษาด้านโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่บุคคลได้เป็นอย่างดี โดยการพิจารณาจากความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ และได้รับมาตรฐานทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ รวมไปถึงการให้บริการที่เป็นมิตรตอบโจทย์การใช้บริการของแต่ละบุคคล

  • ศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสุขภาพต่างๆ 

ในแต่ละสถานพยาบาลรองรับบริการโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีที่แตกต่างกัน คุณสามารถขอข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ ที่น่าสนใจเหมาะสำหรับสุขภาพร่างกายของคุณได้ โดยในแต่ละโปรแกรมจะมีบริการที่เฉพาะเจาะจงในสุขภาพด้านต่างๆ อย่างครอบคลุมตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะมีการระบุค่าใช้จ่าย วิธีการตรวจ ระยะเวลาในการตรวจ เพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบและพิจารณาเลือกใช้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี หรือ โปรแกรมตรวจสุขภาพเฉพาะด้านได้อย่างเหมาะสม


  • พิจารณาเรื่องราคาและบริการของโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี

ในขั้นตอนการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี ควรพิจารณาจากสุขภาพของคุณและค่าใช้จ่ายที่มีความเหมาะสมกับบริการที่จะได้รับ ตรงกับความต้องการตลอดจนมีค่าใช้จ่ายที่เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ทั้งนี้ควรสอบถามให้ชัดเจนเกี่ยวกับบริการเสริมอื่นๆ เช่น คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ การติดตามผลการตรวจ หรือ การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


  • ความพึงพอใจและประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ

เช่นเดียวกับบริการด้านอื่นๆ ทั่วไปมักจะมีการศึกษาความพึงพอใจและประสบการณ์ของผู้ใช้บริการก่อนหน้า ว่ามีข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นต่อบริการนั้นๆ อย่างไร การใช้บริการโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีก็เช่นกัน คุณสามารถใช้ความคิดเห็นก่อนหน้าเพื่อพิจารณาก่อนใช้บริการได้ ทั้งจากสื่อโซเชียลมีเดีย การบอกต่อปากต่อปากจากคนใกล้ตัว และการสอบถามจากบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาล จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจใช้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีของแต่ละช่วงวัย 

  • ช่วงอายุ 19 – 24 ปี 

    • การตรวจสุขภาพที่เน้นการตรวจหาสิ่งผิดปกติจากการไลฟ์สไตล์ของตนเอง เช่น การตรวจความเข้มข้นเม็ดเลือด การตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจการตรวจระดับไขมันในเลือด เป็นต้น


  • ช่วงอายุ 25 – 40 ปี

    • การตรวจสุขภาพที่เน้นการตรวจร่างกายพื้นฐานและภาวะสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมในการทำงานต่างๆ เช่น การตรวจร่างกายพื้นฐาน การตรวจระดับความเข้มข้นเม็ดเลือด การตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด รวมไปถึงภาวะออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น


  • ช่วงอายุ 40 – 59 ปี

  • การตรวจสุขภาพที่เน้นการตรวจโรคความดันสูง ไขมันสูง เบาหวาน  โรคหัวใจ และมะเร็งประเภทต่างๆ  ซึ่งจะแบ่งโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีออกตามเพศชายและหญิง เพื่อให้การตรวจมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด


  • ช่วงอายุ 60 – 65 ปี

  • การตรวจสุขภาพที่เน้นในผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากอวัยวะร่างกายที่เริ่มเสื่อมสภาพและนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ เช่น ตา กระดูก ฟัน สมอง ไต เป็นต้น

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้รู้เท่าทันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณได้ เพราะหากตรวจพบได้เร็ว ย่อมส่งผลดีต่อการรักษาที่เหมาะสมและรวดเร็ว ทั้งยังมีโอกาสหายได้สูงกว่าหลายเท่าอีกด้วย ซึ่ง ฮักษาคลินิก เรายินดีให้คำแนะนำที่ตอบโจทย์สุขภาพของคุณอย่างแท้จริง โดยสามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE: @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

 

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ