ทราบหรือไม่ว่า? โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดอันดับ 1 ของโลก โดยอ้างอิงจากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 ซึ่งในประเทศไทยพบสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 6 หมื่นราย คิดเป็นชั่วโมงละ 2 ราย นับว่าเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ชัดว่า โรคหัวใจ มีความสำคัญต่อการเฝ้าระวังและควรตระหนักถึงการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอย่างมากในปัจจุบัน
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจด้วย “การเอคโค่หัวใจ” จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเพื่อช่วยให้รู้เท่าทันโรคที่อาจแฝงตัวอยู่ ซึ่งส่งผลดีต่อผู้เข้ารับการตรวจในการเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง
โรคหัวใจคืออะไร?
Heart Disease หรือ โรคหัวใจที่ทุกคนคุ้นเคยชื่อกันเป็นอย่างดี ในทางการแพทย์อาจเรียกว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ที่นำไปสู่ภาวะอันตรายต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด
การเอคโค่หัวใจ (Echocardiogram) คืออะไร?
เอคโค่หัวใจ (Echocardiogram หรือ Echocardiography) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจด้วยการใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ในการตรวจหาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ แสดงให้เห็นเป็นการจำลองภาพเคลื่อนไหวที่บ่งบอกลักษณะหัวใจ ขนาดหัวใจ การทำงานของห้องหัวใจต่างๆ ลิ้นหัวใจ และการสูบฉีดเลือด รวมไปถึงสามารถแสดงให้เห็นความผิดปกติของหัวใจได้อย่างละเอียดอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อบริเวณลิ้นหัวใจ ตำแหน่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำงานผิดปกติ หรือ ได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกบริเวณหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
การเอคโค่หัวใจ (Echocardiogram) มีทั้งหมดกี่รูปแบบ?
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจด้วยการเอคโค่หัวใจในปัจจุบันมีทั้งหมด 6 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจแตกต่างกันดังต่อไปนี้
- การเอคโค่หัวใจแบบ Transthoracic Echocardiogram
โดยทั่วไปแล้วนิยมตรวจแบบ Transthoracic Echocardiogram กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบมาตรฐานที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากไม่ส่งผลให้ผู้ตรวจได้รับความเจ็บปวดและไม่มีขั้นตอนการผ่าตัด เป็นเพียงการใช้เครื่องมือวางไว้บนหน้าอกเพื่อส่งคลื่นความถี่สูงผ่านเข้าสู่หนังหัวใจเท่านั้น และส่งสัญญาณกลับเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป
- การเอคโค่หัวใจแบบ Transesophageal Echocardiogram
การตรวจแบบ Transesophageal Echocardiogram เแพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นภาพหัวใจได้จากการตรวจแบบมาตรฐาน หรือไม่มีความชัดเจนเพียงพอ บางกรณีเลือกใช้เมื่อแพทย์ต้องการเห็นรายละเอียดในส่วนของลิ้นหัวใจมากขึ้น โดยการใช้ยาระงับประสาทให้ผู้ตรวจผ่อนคลายและลดความรู้สึกขณะทำการตรวจ เป็นวิธีการสอดท่อเข้าสู่ช่องทางปากยาวจนถึงหลอดอาหาร จะทำให้แพทย์ได้ภาพวินิจฉัยโรคหัวใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
การตรวจเอคโค่หัวใจด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการพักฟื้นหลังจากการตรวจเสร็จสิ้น เพื่อให้มั่นใจว่าฤทธิ์ของยาได้หมดลงแล้ว เนื่องจากอาจส่งผลทำต่อร่างกายหรือการขับขี่ได้
- การเอคโค่หัวใจแบบ Stress Echocardiogram
เป็นการเอคโค่หัวใจที่ตรวจวินิจฉัยร่วมกับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการให้ผู้ตรวจออกกำลังกายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบการทำงานของหัวใจ ทำให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหัวใจบางชนิดได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก หัวใจเต้นเร็วมากกว่าการตรวจทั่วไป ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายได้ หรือ ร่างกายไม่สะดวกต่อการเคลื่อนไหว แพทย์จะเลือกใช้การตรวจร่วมกับการฉีดยาควบคู่กัน
- การเอคโค่หัวใจแบบ Doppler Echocardiogram
เป็นการตรวจวัด ทิศทาง ความเร็วของกระแสเลือดในหัวใจ ตรวจการไหลเวียนเลือดและความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดง โดยใช้การตรวจคละแบบ Transesophageal Echocardiogram กับ Transthoracic Echocardiogram ซึ่งการเอคโค่หัวใจวิธีนี้เป็นการตรวจที่สามารถแสดงผลการวินิจฉัยได้มากกว่าการตรวจแบบอัลตราซาวด์
- การเอคโค่หัวใจแบบ Echocardiogram 3 มิติ
เป็นการตรวจเอคโค่หัวใจที่แพทย์มักใช้การตรวจแบบ Transesophageal Echocardiogram และ แบบ Transthoracic Echocardiogram ซึ่งสามารถเก็บภาพได้หลากหลายมุม จากนั้นระบบจะประมวลผลแสดงภาพออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ให้เห็นถึงลักษณะการทำงานของหัวใจ เป็นวิธีการวินิจฉัยสำหรับผู้ตรวจที่มีประวัติการผ่าตัดลิ้นหัวใจมาก่อน รวมถึงสามารถใช้การเอคโค่หัวใจวิธีนี้ในการวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจในเด็กได้เช่นกัน
- การเอคโค่หัวใจแบบ Fetal Echocardiogram
วิธีนี้แพทย์จะเลือกใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของหัวใจให้กับทารกภายในครรภ์มารดา โดยควรมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 8-22 สัปดาห์ จึงจะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีการฉายรังสี ที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์นั่นเอง
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจเอคโค่หัวใจ
การตรวจเอคโค่หัวใจ เป็นการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นของการทำงานระบบหัวใจ เพื่อที่แพทย์จะใช้ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบโดยละเอียด ถึงสาเหตุของโรคหัวใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ซึ่งแพทย์จะแนะนำการตรวจเอคโค่หัวใจสำหรับผู้ที่มีอาการเสี่ยงดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอาการเหนื่อยหอบ รู้สึกหายใจลำบาก
- ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
- ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจบีบตัวน้อยผิดปกติ
- ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบเรื้อรัง
- ผู้ที่มีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจมีความผิดปกติจากลิ้นหัวใจ
- ผู้ที่มีความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด และผ่านการผ่าตัดมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันยังคงมีอาการของโรค
ข้อควรรู้ก่อนทำการตรวจเอคโค่หัวใจมีอะไรบ้าง?
จากเนื้อหาข้างต้นการเอคโค่หัวใจ คือ การตรวจโรคหัวใจโดยใช้คลื่นความถี่สูงที่มีความแตกต่างจากการตรวจเอกซเรย์ที่ใช้การฉายรังสี ซึ่งแน่นอนว่ามีความปลอดภัยหากเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจเอคโค่หัวใจแบบต่างๆ มีข้อควรรู้ก่อนทำการตรวจดังต่อไปนี้
- การตรวจเอคโค่หัวใจแบบ Transesophageal Echocardiogram อาจทำให้ผู้ตรวจระคายเคืองคอได้ เนื่องจากมีการใส่ท่อเป้าทางปาก และผู้ตรวจจะต้องงดอาหารก่อนรับการตรวจตามเวลาที่แพทย์ได้นัดหมายไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ตรวจมีความพร้อม ป้องกันการสำลักหรืออาเจียนระหว่างการตรวจ รวมถึงแพทย์จะทำการฉีดยาชา ทาเจล หรืออมยาชา ระงับความรู้สึกบริเวณลำคอขณะทำการสอดเครื่องมือ
- การตรวจเอคโค่หัวใจแบบ Transthoracic Echocardiogram อาจทำให้ผู้ตรวจระคายเคืองผิวหนังเล็กน้อยในขณะที่แพทย์ทำการดึงหัวตรวจออกจากบริเวณหน้าอก
- การตรวจเอคโค่หัวใจแบบ Stress Echocardiogram จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจทำให้หัวใจเกิดภาวะเต้นผิดจังหวะ หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นตามลำดับ
- การตรวจเอคโค่หัวใจแบบ Echocardiogram ผู้ตรวจจะต้องเปลี่ยนชุดเพื่อเข้าห้องตรวจ เช่นเดียวกับการเข้าห้องเอกซเรย์ และแพทย์จะให้นอนลงที่เตียงเพื่อท่าเจลบริเวณหน้าอกให้สามารถทำการตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้หลังการตรวจเอคโค่หัวใจเสร็จสิ้น หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผลการตรวจเอคโค่หัวใจไม่พบความผิดปกติ ผู้ตรวจสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม แต่ในกรณีที่แพทย์พบความผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัย ผู้ตรวจอาจถูกส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยละเอียด ซึ่งแผนการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการและผลการตรวจ โดยบางรายอาจต้องทำการตรวจเอคโค่หัวใจซ้ำ หรือ ตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ ตามที่แพทย์แนะนำ
การตรวจเอคโค่หัวใจมีข้อดีอย่างไร?
- เป็นการตรวจด้วยวิธีมารตฐานเป็นการตรวจที่ไม่มีผลข้างเคียง ปลอดภัย
- ทุกเพศ ทุกวัย และสตรีมีครรภ์สามารถตรวจเอคโค่หัวใจได้
- เป็นวิธีการตรวจที่ไม่เจ็บ ไม่ต้องใช้ยาสลบ
- สามารถตรวจเอคโค่หัวใจได้มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน
- ใช้ประกอบการวินิจโรคหัวใจได้หลากหลายประเภท
- คุณสามารถเห็นการทำงานของลิ้นหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจไป ในขณะที่แพทย์หรือเจ้าหน้าที่กำลังทำการตรวจ
- สามารถทำการตรวจโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างเหมาะสม
- สามารถใช้การเอคโค่หัวใจตรวจร่วมกับการตรวจวิธีอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาแบบเจาะลึกของการตรวจเอคโค่หัวใจ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่ช่วยให้คุณทราบถึงจุดต้นตอที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจได้ ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัยและสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่มีอาการเบื้องต้นคล้ายภาวะโรคหัวใจ การเลือกตรวจอย่างทันท่วงทีนั้นเป็นทางเลือกที่แพทย์แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถทำการรักษาได้เร็วที่สุด ทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงภาวะรุนแรงของโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือ ต้องการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก
เบอร์โทร : 096-696-1999
LINE: @hugsa
Facebook : HUGSAMedical
HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ