สารพิษโลหะหนัก

ป้องกันร่างกาย จากภัยร้ายไม่รู้ตัว ด้วยการตรวจหาสารพิษโลหะหนัก

ป้องกันร่างกาย จากภัยร้ายไม่รู้ตัว ด้วยการตรวจหาสารพิษโลหะหนัก

ทุกวันนี้ประเทศไทยของเรานั้นต้องรับศึกหนักจากมลพิษมากมายรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมลภาวะทางอากาศอย่าง ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในสังคม เพราะฝุ่น PM 2.5 ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบด้านทัศนวิสัยทั่วทุกพื้นที่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวภายในประเทศ และสุขภาพของชาวไทยทุกคนในระยะยาวอีกด้วย โดยมลภาวะทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ถึงจะเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็มาพร้อมกับภัยร้ายอย่างสารพิษโลหะหนัก ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของเราอีกด้วย ในบทความนี้จึงจะมากล่าวถึงเกี่ยวกับเรื่องของสารพิษโลหะหนักที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย วิธีป้องกัน การตรวจหาสารพิษโลหะหนัก และการบำบัดเมื่อสารพิษโลหะหนักสะสมในร่างกาย  

สารพิษโลหะหนักคืออะไร 

โลหะหนัก มีที่มาจากคำว่า Heavy Metals ในภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้ในการเรียกธาตุกลุ่มที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำอย่างน้อย 5 เท่า โดยธาตุโลหะหนักบางชนิดก็มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา เช่น ธาตุเหล็ก(Fe), ทองแดง(Cu), แมงกานีส(Mn), สังกะสี(Zn), ฯลฯ แต่โลหะหนักบางชนิดก็สามารถเป็นพิษต่อร่างกายได้ เช่น สารปรอท(Hg), ตะกั่ว(Pb), แคดเมียม(Cd), สารหนู(As), ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้น โลหะหนักชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเอง ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็สามารถที่จะกลายเป็นพิษได้เช่นกัน 

ภาวะพิษจากโลหะหนัก (Heavy Metal Poisoning) สามารถเกิดได้เมื่อสารพิษโลหะหนักเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย แล้วเข้าไปขัดขวางรบกวนการทำงานของแร่ธาตุดีต่าง ๆ อีกทั้งยังสลายตัวได้ช้าโดยธรรมชาติ และเมื่อเกิดการสะสมเป็นอนุมูลอิสระ (Free radical) ก็จะทำให้เซลล์ภายในร่างกายถูกทำลาย เร่งให้เกิดกระบวนการอักเสบต่าง ๆ บนผนังเซลล์ และยังสามารถส่งผลโดยตรงกับระบบไหลเวียนเลือดได้อีกด้วย หากเวลาผ่านไปโดยไม่มีการป้องกัน เยียวยา หรือรักษา ก็จะก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรตรวจหาสารพิษโลหะหนักอย่างสม่ำเสมอ 

โดยสารพิษโลหะหนักสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เราได้จาก 3 ช่องทาง ดังนี้

  • การหายใจ การสูดดม

ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสียของรถยนต์ ควันบุหรี่ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้นก็คือฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤต

  • การรับประทาน

หากดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษโลหะหนักจากโรงงานต่าง ๆ แล้ว พืชและสัตว์ที่อยู่ในบริเวณก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เมื่อนำมารับประทานด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม สารพิษโลหะหนักก็ไม่สามารถกำจัดได้ให้หมดไปได้ และจะสะสมอยู่ในร่างกายยาวนาน

  • การสัมผัส 

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการตรวจหาสารพิษโลหะหนัก ไม่มีการรับรอง ก็อาจทำให้ผู้อยู่ในละแวกใกล้เคียงหรือผู้ใช้ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นสารพิษโลหะหนักได้เช่นกัน   

สารพิษโลหะหนักเกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร 

สารพิษโลหะหนักเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ และสามารถเกิดขึ้นได้จากฝีมือมนุษย์ เช่น โรงงานผลิตสารเคมีต่าง ๆ, ควันพิษจากท่อไอเสีย, การรั่วซึมจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยสารพิษโลหะหนักที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้น หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี หรือไม่ได้คำนึกถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ก็สามารถทำให้โลหะหนักเหล่านั้นปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ กลายเป็นสารพิษโลหะหนักที่ส่งผลกระทบในระยะยาวได้ 

โดยสารพิษโลหะหนักแต่ละประเภท ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ตะกั่ว (มักพบจากการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์ ภาชนะต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน)

สามารถก่อให้เกิดอาการเฉียบพลันได้ เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน ชัก มือและเท้าเป็นอัมพาตเฉียบพลัน หากได้รับในปริมาณที่มากสามารถสลบและเสียชีวิตได้ทันที 

สำหรับอาการที่ส่งผลเรื้อรัง ก็คือก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง กระดูก ไต และต่อมไทรอยด์ถูกทำลาย หากเกิดอาการกับสมอง สามารถทำให้สมองเสื่อมได้ หรือถ้าหากเป็นเด็กที่ได้รับสารตะกั่วจะมีภาวะ IQ ต่ำ 

  • สารหนู (มักพบในพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง) 

สามารถก่อให้เกิดอาการเฉียบพลันได้ เช่น ปวดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดรอยฟกช้ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากหลอดเลือดได้รับความเสียหาย

อีกทั้งสารหนูยังสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ หากได้รับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งปอด 

  • ปรอท (มักพบในอาหารทะเล จากการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ)

สำหรับผลกระทบในระยะสั้น สารปรอทจะทำให้มีอาการไอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ความดันโลหิตเพิ่มสูง ปวดศีรษะ มีอาการเหน็บชา ระคายเคืองตาและมีปัญหาในการมองเห็น 

สำหรับผู้ที่ได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกายในระยะยาว จะทำให้ตับและไตอักเสบ มีภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และส่งต่อระบบประสาททำให้วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ มีปัญหาทางด้านความจำ และอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จนเสียชีวิตได้ 

  • แคดเมียม (มักพบจากโรงงานอุตสาหกรรม)

สารพิษนี้อาจจะไม่คุ้นหูภายในประเทศไทยมากนัก แต่ก็ส่งผลร้ายได้ไม่น้อยไปกว่าสารพิษโลหะหนักอื่น ๆ โดยผู้ที่ได้รับสารพิษแคดเมียมอย่างเฉียบพลันจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงระดับภาวะหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้ 

หากได้รับสารพิษนี้ในระยะยาว จะส่งผลต่อไตทำให้เกิดภาวะไตวาย มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกเปราะ เกิดภาวะถุงลมโป่งพอง อาจก่อให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งกระดูกได้ 

สารพิษโลหะหนัก สามารถป้องกันได้อย่างไร 

โดยในปัจจุบันก็มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อตรวจหาสารพิษโละหนัก และจำกัดไม่ให้โรงงานหรืออุตสาหกรรมปล่อยสารพิษโลหะหนักปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่สามารถควบคุมทุกอย่างให้เกิดขึ้นหรือไม่ให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดจึงเป็นการป้องกันตัว โดยสามารถป้องกันตัวเองจากสารพิษโลหะหนักได้ หากทำตามวิธีต่อไปนี้ 

  1. สวมหน้ากากอนามัย N95 ป้องกันสารพิษโลหะหนักจากฝุ่นควัน PM 2.5 
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ ป้องกันสารพิษโลหะหนักจากการสัมผัส
  3. หลีกเลี่ยงการกินยา อาหารเสริม และการใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน ป้องกันสารพิษโลหะหนักจากการรับประทานและสัมผัส 
  4. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซี เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารที่จำเป็นต่อการกำจัดสารพิษในร่างกาย 
  5. รับประทานอาหารที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ป้องกันและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษโลหะหนักในพืช หรือสัตว์
  6. ตรวจหาสารพิษโลหะหนักในร่างกายอย่างสม่ำเสมอ การตรวจหาสารพิษโลหะหนักในร่างกายสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนขับสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย 

การตรวจหาสารพิษโลหะหนัก สามารถทำได้อย่างไร 

สำหรับผู้ที่ตระหนักแล้วว่าสารพิษโลหะหนักนั้นเป็นภัยอันตราย ร้ายแรงต่อร่างกายในระยะสั้นและระยะยาวอย่างไร จึงขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ตรวจหาสารพิษโลหะหนักเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะมีการป้องกันตัวที่ดีและหลีกเลี่ยงมากมายเท่าไร ก็ไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่าการตรวจหาสารพิษโลหะหนักโดยตรงแล้ว เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อีกมากที่ทำให้เกิดสารพิษโลหะหนักสะสมในร่างกายได้ เช่น ต้องอาศัยหรือใช้ชีวิตอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรม, การทำสีผม ทำเล็บบ่อยครั้งหรือเป็นผู้ให้บริการ, การใช้วัสดุอุดฟันที่ทำมาจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

 

โดยในปัจจุบันสามารถตรวจหาสารพิษโลหะหนักได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีข้อควรรู้และปฏิบัติ ดังนี้ 

  • งดน้ำและอาหาร ก่อนเข้ารับการตรวจ 8 -12 ชั่วโมง 
  • งดอาหารทะเล ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างต่ำ 7 วัน 
  • ราคาเริ่มต้น มาตรฐานที่ 3,000 บาท 
  • ต้องเข้ารับการเจาะเลือดและตรวจปัสสาวะ
  • ใช้เวลาในการรอผลตรวจหาสารพิษโลหะหนัก 5 – 7 วัน 

 

บำบัดสารพิษโลหะหนักในร่างกาย ด้วย Chelation Therapy

เมื่อตรวจหาสารพิษโลหะหนักและได้ทราบผลต่าง ๆ จากการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะแล้ว หากผลออกมาว่าสารพิษโลหะหนักในร่างกายของคุณมีความอันตราย หรือเกินเกณฑ์มาตรฐานในปัจจุบัน แพทย์จะเสนอวางแผนเพื่อการเยียวยารักษา และขับพิษโลหะหนักออกจากร่างกายให้กับคุณ ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ก็คือการทำ Chelation Therapy

Chelation Therapy หรือการล้างพิษหลอดเลือด สามารถล้างสารพิษโลหะหนักจากหลอดเลือดของร่างกายได้ ด้วยการใช้น้ำเกลือที่มีสารประกอบประเภทกรดอะมิโน (EDTA) ช่วยขจัดสารพิษโลหะหนักต่าง ๆ ออกไปทางระบบปัสสาวะปกติ โดยวิธีการจากภายนอกนั้นไม่ต่างจากการให้น้ำเกลือปกติ จึงไม่มีความอันตรายหรือน่ากลัวอย่างที่ใครหลายคนกังวล อีกทั้งยังสามารถนอนพักผ่อน อ่านหนังสือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างการ Chelation Therapy ได้ โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมงเท่านั้น 

นอกจากนี้วิธี Chelation Therapy ยังสามารถใช้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีสารพิษอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย 

 

สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษา หรือ ตรวจหาสารพิษโลหะหนักในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE : @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

 

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ