หมอพบสุข

หมอพบสุข แนะนำการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมให้มีความสุข ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล

หมอพบสุข แนะนำการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมให้มีความสุข ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล

 

จากข่าวการตามหาครอบครัวของ อดีต สส. สม วาสนา หลังตกอับไร้ญาติ คิดว่าลูกทั้ง 3 ตายหมด ที่ปัจจุบันมีสติเลอะเลือน ไร้ญาติเหลียวแล เร่ร่อนมาอยู่ที่บ้าน หมอปลา 5 ปี จากการติดต่อประสานงานของกันจอมพลังและทีมงาน ได้พบกับหมอพบสุข ลูกแท้ๆ ที่เติบโตขึ้นอย่างดีจนกลายมาเป็นอายุรแพทย์โรคประสาท ซึ่งได้ติดต่อพบพ่อเพื่อหาแนวทางรักษาอาการทางสมองต่อไป

เปิดประวัติหมอพบสุข

นายแพทย์ พบสุข ตันสุหัช หรือ หมอหนึ่ง ปัจจุบันอายุ 38 ปี จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่น 47 หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อเฉพาะทาง วว.ประสาทวิทยา โดยปัจจุบันเป็นอายุรแพทย์โรคประสาท โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งยังได้เปิดให้บริการคลินิกรักษาพยาบาล ฮักษาคลินิก สาขาเชียงราย (คลินิกสุขภาพสมองหมอพบสุข) ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย อีกด้วย 

“ผมไม่ได้มองว่า ทำไมแกไม่เลี้ยง ทำไมฉันเลี้ยง มันไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือมองว่าทำอย่างไร ให้เขาดีขึ้นและโฟกัสที่ตัวเองว่าเราพร้อม” นพ.พบสุข ตันสุหัช

ต้องการใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาเพื่อรักษาพ่อ

เมื่อคุณหมอพบสุขได้พบกับคุณพ่อครั้งแรกในรอบ 33 ปี หลังจากที่พ่อแยกไปมีครอบครัวใหม่ตั้งแต่หมออายุได้เพียง 5-6 ขวบ หมอได้กล่าวถึงปัญหาสมองเสื่อมของคุณพ่อว่าอยู่ในระดับกลาง ไม่มีความรุนแรงมากนัก โดยมีปัญหาที่เด่นชัดคือการหลงผิด พูดคนเดียวบางครั้งและมีอาการหูแว่ว ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคสมองเสื่อม ควบคู่กับภาวะทางสุขภาพจิตร่วมด้วย 

 

เบื้องต้นทางทีมงานหมอพบสุข ได้จัดเตรียมสูตรยาเพื่อรักษาอาการของคุณพ่อ และได้ประสานกับทีมรักษาในการหาแนวทางการดูแลว่าจะรักษาอย่างไรต่อไป ด้วยปัจจัยที่คุณพ่อมีอายุมากจะไม่สามารถใช้ยาแรงได้ ต้องรักษาอย่างช้าๆ โดยไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งอาจไม่ถึงขั้นรักษาให้หายขาดได้ แต่จะทำให้อาการโรคสมองเสื่อมค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ

หมอพบสุขแนะนำการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

สำหรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหมอพบสุขได้กล่าวว่า เมื่อผู้ป่วยได้ผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยอย่างละเอียดจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับสมองเสื่อมแล้ว แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาให้ตรงกับอาการอย่างเหมาะสมที่สุด โดยมีด้วยกันทั้งหมด 2 วิธีด้วยกัน คือ การรักษาด้วยการรับประทานยา และการรักษาโดยไม่ใช้ยา (การสร้างสิ่งแวดล้อม) 

 

เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุทั้งที่รักษาได้และไม่สามารถรักษาได้ เมื่อแพทย์ได้ทำการวิเคราะห์ผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ การรักษาจะเริ่มต้นตามอาการของผู้ป่วย แต่หากในกรณีที่พบว่าสมองเสื่อมเกิดจากความเสื่อมของสมองโดยตรง (Neurodegenerative) แพทย์จะเลือกการรักษาตามระดับความรุนแรง ซึ่งจะใช้ยาช่วยยับยั้งเอนไซน์ที่ทำลาย Acetylcholine ที่เป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ เป็นการรักษาตามอาการด้วยการปรับระดับสารสื่อประสาทให้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมสามารถยืดระยะเวลาอาการ ช่วยประคับประคอง และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น 

 

ในส่วนของวิธีการรักษาโดยไม่ใช่ยานั้น เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้กับผู้ป่วยอย่างถูกต้องและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการบริหารสมองด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ความคิด เช่น การเล่นเกม การอ่านหนังสือ การฝึกคิด โดยที่ผู้ดูแลควรได้รับคำแนะนำวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง อีกทั้งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกระทบต่อภาวะจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงผู้ดูแลน้อยที่สุด

หมอพบสุขส่งมอบกำลังใจให้กับคนที่เจอปัญหาการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม

สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอยู่ขณะนี้ หมอพบสุขกล่าวว่า “อยากเป็นกำลังให้กับทุกครอบครัวที่กำลังดูแลญาติผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมองเสื่อม ควรใจเย็นกับผู้ป่วย พูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์และหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด” การแสดงออกทางอารมณ์ต่อพฤติกรรมต่างๆ ที่ผู้ป่วยทำไม่เหมาะสม เช่น การโมโห หัวเราะ หรือ หงุดหงิด อาจกระตุ้นอาการของโรคได้ สิ่งสำคัญคือไม่ควรพยายามบังคับให้ผู้ป่วยทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย หรือ บังคับให้จำสิ่งต่างๆ หากสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิดควรหยุดทันที และหยุดความคาดหวังในตัวผู้ป่วยลง แล้วหันมาทำความเข้าใจโรคสมองเสื่อมให้มากขึ้น พร้อมกับยอมรับในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นผลมาจากโรคสมองเสื่อมให้ได้มากที่สุด 

 

รวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้มีความปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวก หลีกเลี่ยงสิ่งรอบตัวที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการลื่นล้ม ห่างจากของมีคม และเพิ่มแสงสว่างภายในบ้านให้เพียงพอ ไม่เปลี่ยนแปลงสถานที่เก็บของหรือวางของ เพื่อให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น เน้นย้ำว่าควรให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใส่ใจ พูดคุยด้วยน้ำเสียงเรียบๆ พูดซ้ำๆ สิ่งแวดล้อมไม่ควรมีเสียงดังหรือเงียบเกินไป ควบคู่กับการสิ่งเสริมให้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อไม่ให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การจัดสวน การทำงานบ้านเบาๆ การประดิษฐ์งานง่ายๆ และ การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

แนะนำ ฮักษาคลินิก สาขาเชียงราย (คลินิกสุขภาพสมองหมอพบสุข)

คลินิกสุขภาพสมองหมอพบสุข ให้บริการวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง ด้วยประสบการณ์ในการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญเฉพาะทาง มีความพร้อมในการให้บริการ ตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วย รองรับบริการให้คำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยช่วยให้การวินิจฉัยมีประสิทธิภาพและแม่นยำ สำหรับท่านผู้มีปัญหาด้านโรคประสาทและสมองสามารถนัดเข้ามาปรึกษาที่คลินิกฮักษาหมอพบสุข ที่จังหวัดเชียงรายได้ โดยติดต่อได้ที่ 

Facebook : Hugsa Medical และ Facebook : Hugsa หมอพบสุขเชียงราย 

โทร.095-656-1666 

Line : @hugsa

Tiktok : hugsa_medical

และสามารถติดตามคุณหมอพบสุขได้ที่ IG หมอพบสุข (phopsuk.tan)

Hugsa Clinic พบสุข จังหวัดเชียงราย ที่อยู่ : https://maps.app.goo.gl/g698384Ga7VrJ8vU8