เอคโค่หัวใจเด็ก

การตรวจเอคโค่หัวใจในเด็ก ทางเลือกใหม่ปลอดภัยสูง

การตรวจเอคโค่หัวใจในเด็ก ทางเลือกใหม่ปลอดภัยสูง

รู้หรือไม่? โรคหัวใจในเด็กสามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้ ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใหญ่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แท้จริงแล้วเด็กมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้เทียบเท่ากับผู้ใหญ่ โดยเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายอาจตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือ เมื่อมีอายุได้ 1-2 เดือน หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหัวใจในเด็กมาก่อน อาจไม่ทราบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยได้เลย ดังนั้นการตรวจเอคโค่หัวใจจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้คุณทราบสุขภาพหัวใจของลูกคุณได้ ซึ่งหากตรวจพบได้เร็วจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การตรวจเอคโค่หัวใจในเด็ก (Pediatric Echocardiography)

การเอคโค่หัวใจ คือ การตรวจหัวใจด้วยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนที่มีความถี่สูง โดยตรวจผ่านบริเวณผนังทรวงอกไปยังหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งแพทย์จะใช้หัวตรวจ หรือ Probe วางบริเวณผนังทรวงอกและตรวจด้วยการปล่อยคลื่นเสียงจากเครื่องมือด้วยความเร็วเสียง 1,530 เมตรต่อวินาทีโดยประมาณ เมื่อคลื่นเสียงผ่านไปตกกระทบยังส่วนต่างๆ ในหัวใจและหลอดเลือดจะมีการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงมายังเครื่องมือตรวจ หลังจากนั้นเครื่องมือจะทำการแปลงค่าสัญญาณให้เกิดเป็นภาพโครงสร้างหัวใจและหลอดเลือดที่หน้าจอตรวจเอคโค่หัวใจ ให้แพทย์ได้อ่านค่าและพิจารณาลักษณะหัวใจ เพื่อทำการวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ต่อไป

อย่างไรก็ตามคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงที่ใช้ในการเอคโค่หัวใจนั้น เป็นความถี่สูงที่เกินกว่าหูมนุษย์รับรู้ได้ มีชื่อว่า Ultrasound ซึ่งมีความปลอดภัยสูงมาก ไม่มีผลกระทบหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ทุกชนิด รวมไปถึงโรคหัวใจในเด็กที่พบได้บ่อย คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ( Congenital heart disease) และ โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease)

ประโยชน์ของการตรวจเอคโค่หัวใจ

การตรวจเอคโค่หัวใจทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพความผิดปกติภายในหัวใจได้ทั้ง 4 ห้อง มองเห็นผนังกั้นหัวใจ ลักษณะการเปิด-ปิดของลิ้นหัวใจ สามารถวัดความหนาและขนาดของผนังหัวใจได้อย่างแม่นยำ สามารถเห็นเส้นเลือดส่วนต่างๆ ที่เลี้ยงหัวใจรวมไปถึงเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจได้ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยและประเมินการทำงานของหัวใจในช่วงการคลายตัว การบีบตัว อีกทั้งยังสามารถใช้วิธีการเอคโค่หัวใจในการตรวจการไหลเวียนของเลือดในหัวใจเพื่อประเมินการไหลเวียนเลือดในร่างกายได้อีกด้วย

โรคหัวใจในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคหัวใจเด็กมีสาเหตุหลักที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในทารก หรือ หลอดเลือดใกล้หัวใจทารกมีความผิดปกติ โดยจากสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทารกจำนวน 1,000 คน จะพบเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 คน ซึ่งตรวจพบโดยแพทย์ตั้งแต่ก่อนครอด หลังคลอด และตรวจพบเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้ส่วนมีมักอาการลิ้นหัวใจตีบ ผนังกั้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดเกิน รวมถึงโรคหัวชนิดซับซ้อน เป็นต้น

2. โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังเกิด

โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • โรคหัวใจรูห์มาติก 

เกิดจากไข้รูห์มาติกที่ส่งผลลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจรั่วและ/หรือตีบได้

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

เกิดจากเชื้อไวรัสต่างๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายอย่างเฉียบพลันได้

  • โรคไข้คาวาซากิ 

โรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดงในร่างกายและหลอดเลือดหัวใจ Coronary Arteries ซึ่งหากพบในเด็กเล็กอาจทำให้เส้นเลือดหัวใจโคโรนารีโป่งพองได้

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ โดยผู้ป่วยในเด็กส่วนใหญ่มักพบอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และมีอาการเป็นๆ หายๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดหัวใจวายและเสียชีวิตได้

สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าควรเข้ารับการตรวจเอคโค่หัวใจ

  • อาการเจ็บหน้าอก

      • มีโรคประจำตัว เช่น โรค กลุ่มอาการมาร์แฟน โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือ เคยเป็นโรคคาวาซากิ
      • มีอาการเจ็บหน้าอกจนทำให้ตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน
      • มีอาการหน้ามืดเป็นลม
      • อาการเจ็บหน้าอกร่วมกับใจสั่น
      • อาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • อาการใจสั่น

      • ใจสั่นเวลานั่ง หรือ นอนเฉยๆ
      • มีอาการใจสั่นทันทีแม้ไม่ได้ออกแรงมาก
  • อาการตัวเขียว

      • เด็กมีอาการเหงือก ลิ้น ริมฝีปากและเล็บ เป็นสีม่วงคล้ำ
      • เด็กที่มีอายุ 3-6 เดือนขึ้นไป ที่มีอาการกลั้นเขียวหลังการทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก หลังตื่นนอนช่วงเช้าหรือเวลาป่วยจะมีอาการเขียวม่วงมากผิดปกติ ร่วมกับอาการหายใจหอบลึก
  • อาการเสียงฟู่ของหัวใจ

      • เด็กที่เป็นโรคหัวใจมักมีอาการเสียงฟู่ของหัวใจ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้เสียงฟู่อาจเกิดในเด็กที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ มีไข้ ภาวะโลหิตจาง  
  • อาการบวม 

อาการบวมที่เกิดขึ้นบริเวณสันหน้าแข้ง ข้อเท้า หรือหลังเท้า ซึ่งมักเกิดช่วงหลังตื่นนอนและเมื่อกดจะเป็นรอยบุ๋มหลังจากนั้นไม่นานจะค่อยๆ คืนตัว

ประเด็นสำคัญของการตรวจเอคโค่หัวใจในเด็ก

  • การตรวจด้วยการเอคโค่หัวใจทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากรังสีเอกซเรย์
  • การเอคโค่หัวใจมีกระบวนการคล้ายกับการทำ Ultrasound ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียงสะท้อนที่มีความถี่สูง เพื่อแสดงภาพของโครงสร้างหัวใจและการทำงานภายในหัวใจ
  • การเอคโค่หัวใจสามารถช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจได้ทุกชนิด และได้รับการตรวจสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยต่อเด็ก
  • การตรวจด้วยการเอคโค่หัวใจทำได้แม่นยำในเวลาเพียงแค่ประมาณ 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและรายละเอียดในการวินิจที่แพทย์ต้องการใช้

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อลูกน้อยต้องตรวจเอคโค่หัวใจ

  • เมื่อพบความผิดปกติที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นที่ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยง ควรพาเด็กพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเอคโค่หัวใจได้เลยโดยไม่ต้องงดน้ำหรืองดอาหาร
  • ห้องที่ใช้ในการตรวจเอคโค่หัวใจมีความเงียบสงบ ผู้ปกครองสามารถเข้าไปยังห้องตรวจพร้อมกับลูกได้โดยไม่ต้องกังวลในกระบวนการตรวจแต่อย่างใด
  • ในกรณีเด็กเล็กทำการตรวจเอคโค่หัวใจอาจมีการใช้การ์ตูน ตุ๊กตา หรือ เสียงดนตรี เพื่อคลายความตื่นตระหนกให้กับเด็กและเบี่ยงเบนความสนใจ ให้แพทย์สามารถทำการตรวจได้สะดวกมากขึ้น

การตรวจเอคโค่หัวใจในเด็กคือทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการตรวจความผิดปกติของการทำงานหัวใจในบุตรหลานของคุณ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพที่ได้รับการยอมรับ สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจเอคโค่หัวใจ หรือ ต้องการรายละเอียดด้านการรักษาโรคหัวใจในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE: @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ