ปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้อ แนวทางปฏิบัติและรักษาโรคปวดอย่างยั่งยืน
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นคำที่ใช้เรียกอาการปวดเรื้อรังต่าง ๆ อย่างเช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้อ หรือปวดกล้ามเนื้อ โดยเกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ในทุก ๆ วัน จนสะสมแล้วกลายเป็นโรคปวดออฟฟิศซินโดรม ซึ่งใครที่ประสบพบเจอกับตัวคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคปวดออฟฟิศซินโดรมนี้สร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิต และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายอย่างไรบ้าง หรือสำหรับใครที่พบเห็นคนรอบตัวกำลังตกอยู่ในสภาวะออฟฟิศซินโดรมแล้วไม่อยากจะเกิดสภาวะนี้กับตนเอง ทางเราก็ได้มีแนวทางการปฏิบัติตัวและรักษาโรคปวดที่ดีและยั่งยืนมาแนะนำให้กับคุณ
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุหลักของการเกิดออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ด้วยรูปแบบซ้ำเป็นประจำทุกวัน ซึ่งการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นอย่างต่อเนื่อง และปล่อยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นไม่มีการขยับเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดอาการล้าสะสมจนกลายเป็นโรคปวดเรื้อรัง แต่ถ้าหากให้สรุปสาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรมออกมาอย่างง่าย ๆ ก็สามารถอธิบายได้ดังนี้
-
เกิดจากการทำกิจกรรมเดิม ๆ อย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่ทำให้เกิดโรคปวดออฟฟิศซินโดรมประการแรกเลย ก็คือการต้องทำกิจกรรมเดิม ๆ วนซ้ำอยู่บ่อยครั้งสำหรับวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการต้องนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานาน การยืนอยู่ตำแหน่งเดิม ๆ เป็นเวลานานจากอาชีพพนักงานขาย (โดยเฉพาะพนักงานหญิงที่ใส่ส้นสูง จะเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายกว่า) หรือการนั่งขับรถใช้เวลาบนท้องถนนที่การจราจรติดขัดจากอาชีพพนักงานขับรถ ล้วนแล้วแต่ต้องเข้ารับการรักษาโรคปวดออฟฟิศซินโดรมทั้งสิ้น
-
เกิดจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
หนึ่งสิ่งที่พบว่าเป็นสาเหตุหลักซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในบรรดาพนักงานออฟฟิศนั่งโต๊ะ อีกทั้งยังสามารถทำให้ปัจจัยจากสาเหตุที่หนึ่งอาการทรุดหรือแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว ก็คือการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งการวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม เช่น หน้าจออยู่ใกล้ใบหน้าเกินไปซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดล้าดวงตาและศีรษะ หน้าจออยู่ไกลเกินไปซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ เมาส์ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมซึ่งส่งผลให้ปวดข้อนิ้วข้อมือได้ เป็นต้น นอกจากนี้การใช้โต๊ะทำงานที่ไม่เหมาะสมกับประเภทของงาน เช่น นำโต๊ะทำงานมาใช้เป็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปวดได้
-
เกิดจากบุคลิกภาพส่วนบุคคล
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การรักษาโรคปวดออฟฟิศซินโดรมทางการแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นสาเหตุที่แก้ไขได้ยากที่สุด ก็คือโรคปวดออฟฟิศซินโดรมซึ่งเกิดจากบุคลิกภาพส่วนบุคคล เช่น การนั่งหลังค่อม การนั่งท่าที่ส่งผลร้ายต่อกล้ามเนื้อในระยะยาว โดยอาจเป็นนิสัยเสียหรือความเคยชินที่ใครหลายคนเผลอทำโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อสะสมเป็นเวลานานก็จะส่งผลให้เกิดโรคปวดออฟฟิศซินโดรม
-
เกิดจากการขาดการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการออกกำลังกาย
ถึงแม้ว่าจะต้องอยู่ในสภาวะที่ง่ายต่อการเกิดโรคปวดออฟฟิศซินโดรม แต่ก็สามารถเยียวยาและรักษาโรคปวดได้ง่าย ๆ ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ กลับกัน เมื่อคนเราขาดการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายมาเป็นระยะเวลานาน แล้วประสบพบเจอกับสถานการณ์ที่ต้องใช้แรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างทันทีทันใด ก็ทำให้เกิดโรคปวดได้เช่นเดียวกันกับสาเหตุอื่น
-
เกิดจากการทำงานที่ต้องใช้แรงกาย
สาเหตุนี้มักเกิดจากกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงกายในการทำงานเป็นประจำ เช่น อาชีพที่ต้องใช้การแบกหาม ยกของ หรือนักกีฬา เป็นต้น ซึ่งเมื่อใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป มีการหักโหมใช้งานกล้ามเนื้อเป็นประจำ หรือการเคลื่อนไหวร่างกายผิดไปจากท่าเดิมหรือท่าที่ควร ก็อาจเป็นได้ทั้งโรคปวดแบบเฉียบพลัน และโรคปวดแบบเรื้อรัง
รักษาโรคปวดจากออฟฟิศซินโดรม ทำอย่างไร
ถ้าหากคุณอยู่ในอาการเจ็บป่วยจากโรคปวดออฟฟิศซินโดรมแล้ว โดยไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม แต่โรคปวดที่เกิดขึ้นนั้นสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการรักษาโรคปวดออฟฟิศซินโดรมมากมายและหลากหลายวิธี แต่ทว่าในทางที่ดีที่สุดควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่เที่ยงตรง ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์โดยตรงและสามารถรักษาโรคปวดได้ตามระดับของอาการ
หากต้องการทราบวิธีการรักษาโรคปวดออฟฟิศซินโดรม เพื่อใช้ในการตัดสินใจก่อนเข้าพบแพทย์ ก็สามารถเรียบเรียงวิธีรักษาโรคปวดออกได้ ดังนี้
การทำกายภาพบำบัด : จะเน้นรักษาโรคปวดด้วยการให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อย่างการยืดเหยียด การนวด การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการออกกำลังกาย
การรับประทานยา : สำหรับผู้ที่มีอาการปวดร่วมด้วย แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าคุณจำเป็นต้องทานยาหรือไม่ โดยยาจะเป็นประเภทบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการอักเสบ หรือยาแก้เอ็นอักเสบ
การฉีดยา : ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคและปวดกล้ามเนื้อรุนแรง แพทย์อาจให้ฉีดยาเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกร็งคลายตัว หรือบรรเทาอาการปวด
การเข้ารับการรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ : สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรัง จะมีตัวเลือกของการใช้เครื่องทางกายภาพเข้ามาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คลื่นกระแทก (Shock Wave) หรือการฝังเข็ม
การผ่าตัด : สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ด้วยอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคปวดที่กดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง เพื่อให้ร่างกายไม่มีอาการปวดที่รบกวนการใช้ชีวิต
แนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงก่อนจะเป็นออฟฟิศซินโดรม
สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงานหรือต้องใช้ชีวิตอยู่กับโต๊ะทำงานและโต๊ะคอมพิวเตอร์นาน ๆ ในทุกวัน โดยไม่ต้องการที่จะประสบพบเจอกับโรคปวดออฟฟิศซินโดรมให้ชีวิตของคุณต้องสะดุด ก็สามารถป้องกันเหตุต่าง ๆ ก่อนที่จะสะสมกลายเป็นโรคเจ็บป่วยได้ โดยทางเราได้สรุปแนวทางปฏิบัติมาให้คุณ ดังต่อไปนี้
-
ลดการทำกิจกรรมเดิม ๆ ด้วยการหาเวลา
ถึงแม้ว่าภาระงานบางอย่างจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมเดิม ๆ และการทำอะไรซ้ำเดิมได้ ก็ควรที่จะหาเวลาว่างวันละ 1 – 2 นาที เพื่อใช้เวลานั้นในการยืดหยุ่นร่างกาย ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย หรือเดินออกจากโต๊ะเพื่อสูดอากาศภายนอกในบางครั้ง ไม่ควรนั่งหรือยืนที่เดิม ๆ ติดต่อกันนานเกินไป
-
จัดหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน
อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้คุณเป็นโรคปวดออฟฟิศซินโดรมได้ดี ก็คือการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของโต๊ะ หรือตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ทุกวันเป็นประจำ นอกจากนี้ ในปัจจุบันก็ได้มีเก้าอี้เพื่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานออกมามากมาย ซึ่งก็ได้ประสิทธิภาพและช่วยลดการเกิดโรคปวดได้จริง
-
ปรับท่านั่งและบุคลิกภาพให้ถูกต้อง
แม้ว่าท่านั่งและบุคลิกภาพต่าง ๆ จะเกิดมาจากนิสัยติดตัว แต่ก็สามารถที่จะแก้ไขได้ แลกกับสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนและระยะยาวต่อไปในอนาคต เช่น ปกติเป็นคนนั่งหลังค่อม ก็ควรจะปรับตัวเองให้นั่งหลังตรงทุกครั้งที่รู้สึกตัว ค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ เป็นไปในทุกวัน แล้วสุดท้ายบุคลิกนี้ก็จะกลายเป็นบุคลิกใหม่ของคุณเอง
-
หมั่นออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ
สุดท้ายแล้วการป้องกันและรักษาโรคปวดที่ดีที่สุด ก็คือการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง โดยกีฬาที่ดีต่อโรคปวดออฟฟิศซินโดรมเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกีฬาที่ใช้เวลาและแรงกายมหาศาลเลย แต่กีฬาที่จำเป็นก็คือกีฬาที่ต้องใช้การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น โยคะ เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ซึ่งนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการเกร็งที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดแล้ว ยังส่งผลในเรื่องของสุขภาพจิตใจ ช่วยเยียวยาความเหนื่อยล้า และผ่อนคลายความเครียดให้กับคุณได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาหรือรักษาโรคปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้อ ในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก
เบอร์โทร : 096-696-1999
LINE : @hugsa
Facebook : HUGSAMedical
HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ