วิธีป้องกันโรคหัวใจ รู้ไว้เลี่ยงได้ตลอดชีวิต

หากพูดถึงโรคหัวใจคงไม่มีใครไม่รู้จักและไม่มีใครไม่เคยได้ยิน เพราะเป็นหนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตของคนไทยหลายต่อหลายคนต่อเนื่องเรื่อยมา ประกอบกับหัวใจยังเป็นอวัยวะที่มนุษย์เรามีเพียงดวงเดียวเท่านั้น ดังนั้นการรู้ถึงวิธีป้องกันโรคหัวใจ การสร้างการตระหนักรู้ถึงอันตรายของโรคหัวใจ ตลอดจนการทราบถึงแนวทางการเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดมากกว่าการรักษาให้หายขาดในภายหลัง  อีกทั้งยังช่วยให้สามารถห่างไกลจากโรคหัวใจรวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ มีผลต่อระบบการทำงานของหัวใจที่ทำให้ผิดปกติ ซึ่งตามปกติแล้วหัวใจจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อภายใน 4 ห้อง แบ่งเป็นห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง ซึ่งหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตและนำพาออกซิเจนรวมถึงสารอาหารต่างๆ ไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย โดยกระบวนการทำงานของหัวใจซีกขวามีหน้าที่รับโลหิตที่ผ่านการใช้แล้วจากร่างกาย สูบฉีดไปยังอวัยวะปอดเพื่อรับเอาออกซิเจน จากนั้นโลหิตที่ประกอบด้วยออกซิเจนจะไหลกลับไปสู่หัวใจด้านซ้ายและถูกสูบฉีดไปยังทุกส่วนของร่างกายผ่านเส้นเลือดใหญ่ต่อไป 

ทำไมต้องรู้วิธีป้องกันโรคหัวใจ

ไม่ว่าจะโรคใดๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ล้วนแล้วแต่ไม่มีใครอยากป่วยกันทั้งนั้น ซึ่งการรู้ถึงวิธีป้องกันโรคหัวใจรวมถึงโรคอื่นๆ แบบคร่าวๆ อย่างพอเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องเข้าใจลึกซึ้งเทียบเท่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ควรทราบถึงสาเหตุการเกิดโรคหัวใจ ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ตลอดจนมีความรู้ด้านวิธีการป้องกันโรคหัวใจเบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงและปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้มากที่สุด

จากการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านโรคหัวใจ ได้ระบุว่าหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เกิดจากไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจโดยตรง เนื่องจากแต่เดิมที่ผ่านมาโรคหัวใจนั้นมักเกิดกับผู้สูงอายุมากกว่า แต่ในปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจเกิดขึ้นกับวัยทำงานมากขึ้น เป็นผลมาจากปัจจัยที่หลากหลายหนึ่งในนั้นคือไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานประจำที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงไลฟ์สไตล์การปาร์ตี้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุม หรือ หลีกเลี่ยงจากโรคหัวใจได้ นั่นก็คือปัจจัยด้านพันธุกรรมและโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นภาวะสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจได้สูงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคหัวใจที่เหมาะสม โดยใช้ประโยชน์จากช่องทางสื่อต่างๆ ในการนำเสนอให้มีความน่าสนใจเข้าถึงกลุ่มวัยทำงานให้ได้ตระหนักรู้มากยิ่งขึ้น

รู้ได้อย่างไรว่าควรศึกษาวิธีป้องกันโรคหัวใจก่อนสายไป

วิธีป้องกันโรคหัวใจเป็นสิ่งที่ควรทราบก่อนที่จะสายเกินไปจนส่งผลต่อร่างกายในระยะเรื้อรัง ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าได้เวลาอันสมควร ที่จะต้องศึกษาหาความรู้เรื่องวิธีป้องกันโรคหัวใจมากขึ้น คำตอบก็คือการรู้ไว้ก่อนแม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นกับตัวเองเลยก็ตาม เป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำให้ทำเป็นนิสัย ไม่เพียงแต่เฉพาะเป็นโรคหัวใจเท่านั้น ยังรวมไปถึงโรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อร่างกายด้วยเช่นกัน แต่หากชะล่าใจไม่ได้สนใจกับเรื่องสุขภาพร่างกายตนเองมาก่อน คุณสามารถสังเกตสัญญาณเตือนจากร่างกายที่เริ่มมีความผิดปกติซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ดังนี้ 

  • มีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก
  • หายใจหอบ มีบางครั้งที่ตื่นมาหอบกลางดึกระหว่างนอนหลับ
  • หายใจลำบากกว่าปกติ มักเป็นเวลากลางคืนขณะนอนหลับ
  • เจ็บหน้าอกด้านซ้าย แน่นบริเวณกลางอก เจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือเจ็บหน้าอกทั้ง 2 ข้าง จนไม่สามารถนอนราบได้ปกติ
  • ขา หรือ เท้า มีภาวะบวมผิดปกติ 
  • ริมฝีปาก ปลายมือ และปลายเท้ามีสีเขียวคล้ำผิดปกติ
  • เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ 

วิธีป้องกันโรคหัวใจที่ควรรู้มีอะไรบ้าง?

  • การหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่มีการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช เพื่อให้คงสภาพน้ำมันมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการทอด ซึ่งเป็นสภาพกึ่งเหลวกึ่งแข็งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ มากมาย โดยที่การเลี่ยงไขมันทรานส์เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ ด้วยสาเหตุที่ว่าไขมันทรานส์นั้นจะเพิ่มระดับไขมันเลว (Low – Density Lipoproteins) พร้อมกับลดระดับไขมันดี (High – Density Lipoproteins) ส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือดหัวใจที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นควรเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน 

  •  การหลีกเลี่ยงภาวะที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง

โรคเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดแดงที่มีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจมีความผิดปกติ ทำให้ผนังหลอดเลือดหัวใจอักเสบเรื้อรังได้ ซึ่งหากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงจะส่งผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจในที่สุด อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสามารถบีบตัวได้น้อยกว่าปกติ เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจที่สามารถทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เกิน 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และควบคุมระดับไขมันเลว (LDL) ไม่เกิน 129 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 

  • งดการสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในต้นต่อสำคัญของการก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ซึ่งแน่นอนว่าการลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้ จะเป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้อย่างดีอีกทางหนึ่ง เนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะในปริมาณที่มากน้อยแค่ไหนก็มีผลต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งสิ้น โดยจากข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด อีกทั้งยังพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่มากถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีว่าช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งเป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจที่ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ร่างกายใกล้เสื่อมสภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจได้แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเน้นช่วงเบิร์นไขมัน หรือ Fat Burn เป็นการออกกำลังกายในช่วงที่หัวใจมีอัตราการเต้นที่เหมาะสมกับการเผาผลาญไขมัน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร 0.7 x (220-อายุ) จะได้ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมมากที่สุด โดยการออกกำลังกายในช่วงดังกล่าว 5 วันต่อสัปดาห์จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้มากยิ่งขึ้น

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพ

การนอนหลับให้เพียงพออย่างมีคุณภาพคือหนึ่งวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ เพราะการนอนอย่างมีคุณภาพอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ด้วยการนอนหลับลึก (Deep Sleep) ที่ทำให้การตื่นนอนสดชื่น โดยที่ช่วงการนอนหลับลึกนั้นจะต้องมี 30-50 นาที จะทำให้สมองและหัวใจได้พักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นช่วงที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดลง ความดันโลหิตลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงอยู่ที่ 40-60 ครั้ง/นาที ส่งผลต่อการหลั่งโกรธฮอร์โมนได้ดีขึ้น หากคุณมีปัญหาด้านการนอนที่ทำให้ตื่นมาไม่สดชื่นคล้ายนอนไม่เต็มอิ่ม อาจเข้าตรวจสุขภาพการนอนกับแพทย์เฉพาะทางได้อีกวิธีหนึ่ง

  • การจัดการกับความเครียด

ความเครียดส่งผลทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความเครียดฉับพลันที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้มีโอกาสสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นภาวะซึมเศร้าก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้สูงถึง 2 เท่า จึงกล่าวได้ว่าการจัดการกับความเครียดและรู้ทันความเครียดของตัวเองเป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ ด้วยการฝึกสมาธิ การพบปะพูดคุยกับเพื่อนคนสนิท การออกกำลังกาย การเข้าสังคม เป็นต้น

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาวิธีป้องกันโรคหัวใจ หรือ ต้องการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE: @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ