ฝังเข็มรักษาโรคด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน | ฮักษา คลินิก เชียงราย
การฝังเข็มเป็นหนึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่มีมาอย่างช้านานกว่า 5,000 ปี โดยการใช้เข็มเพื่อบรรเทาอาการและความเจ็บปวดของร่างกาย ซึ่งจะทำการฝังเข็มโดยแพทย์ฝังเข็มที่ผ่านการฝึกฝนเฉพาะทางมาเป็นอย่างดี ด้วยการใช้เข็มที่สะอาดปลอดเชื้อฝังเข้าไปยังจุดต่างๆ ของร่างกายที่เป็นเส้นลมปราณเพื่อปรับสมดุลการไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น ฟื้นฟูสุขภาพ และสร้างภูมิคุ้มกัน การฝังเข็มจะทำให้ร่างกายปล่อยสารเคมีได้ตามธรรมชาติ ขนาดของเข็มที่ใช้มีขนาดประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร ช่วยกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่นเข็ม หรือ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่มีค่าโวลต์ต่ำ ระยะเวลาประมาณ 20 นาที จากนั้นจึงทำการถอนเข็มออก
จุดเด่นของศาสตร์การแพทย์แผนจีน
พื้นฐานของศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีจุดเด่นที่การเชื่อมโยงอวัยวะต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางของร่างกายกับระบบเส้นลมปราณ ที่มีการทำงานร่วมกัน พึ่งพา หรือควบคุม ที่มีเลือดควบคู่กับลมปราณในการหล่อเลี้ยง ภายใต้การควบคุมของสภาวะจิตใจให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้อย่างยืนยาวสมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นการใช้หลักการฝังเข็ม การรมยา การใช้ยาสมุนไพร และการนวดทุยหนา จึงสัมพันธ์กับหลักการดังกล่าวทำให้ผลการรักษาดีต่อร่างกายไม่แพ้แนวทางการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน
บริการฝังเข็ม ศาสตร์แพทย์แผนจีน โดย ฮักษา คลินิก เชียงราย
ฮักษา คลินิก เชียงราย ให้บริการตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนด้วยการฝังเข็ม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับชาวเชียงรายที่ต้องการรักษาสุขภาพ โดยเน้นการรักษาแบบองค์รวมด้วยการปรับสมดุลของร่างกาย ภายใต้แนวคิดของเราคือ ” ฮักษา เมดิคอล คลินิกที่คุณไว้ใจ “ซึ่งเราให้บริการด้านการแพทย์ที่ยึดหลักการรักษาด้วยหัวใจ ด้วยความห่วงใยผู้ป่วยดุจเสมือนญาติมิตร ให้ชาวเชียงรายได้เข้าถึงการตรวจรักษาอย่างใกล้ชิดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างคุ้มค่าคุ้มราคาที่สุด
การบริการของเราเป็นไปตามหลักหยิน-หยาง และธาตุทั้ง 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานของแพทย์แผนจีนที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ครอบคลุมการบริการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยมุ่งเน้นไปที่การบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพที่ต้นเหตุของอาการต่างๆ เสริมภูมิคุ้มกัน ปรับความสมดุลของพลังหยิน-หยาง ให้กับร่างกายด้วยทฤษฎีปัญจธาตุ ทฤษฎีอวัยวะภายใน ทฤษฎีระบบลมปราณ
การฝังเข็มมีกี่ประเภท
การรักษาด้วยการฝังเข็มของจีนตามหลักการแล้วจะเน้นที่การปรับสมดุลการไหลเวียนเลือด หรือ พลังงานชี่ ที่หมุนเวียนผ่านตามร่างกายมนุษย์ เนื่องจากความเชื่อที่ว่าหากพลังชี่ไม่มีความสมดุลเป็นปกติจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วย ดังนั้นการฝังเข็มศาสตร์แพทย์แผนจีนจึงถูกจัดให้เป็นการฝังเข็ม Acupuncture ที่ทำให้ร่างกายหลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยระงับปวด ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณที่มีการอักเสบ ในส่วนของการฝังเข็มแห้ง หรือ Dry needling เป็นการฝังเข็มแบบตะวันตก ซึ่งเน้นการฝังเข็มเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ กระตุ้นกล้ามเนื้อที่หดเกร็งในเชิงลึก บริเวณ Trigger Point โดยใช้เข็มสะกิดให้เกิดการคลายตัว
อาการที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วได้ผลดี
-
กลุ่มอาการปวด
ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อจากการทำงาน การออกกำลังกาย หรือ อาการข้างเคียงจากโรคส่วนตัวอย่างๆ เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหลัง ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต หรือ มีอาการการปวดเรื้อรังจนกระทบต่อการทำงาน
-
ปวดศีรษะ
ผู้ที่มีอาการ ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ซึ่งมักมีอาการต่อเนื่องเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น และบางครั้งกระทบต่อการดำเนินชีวิต ไม่สดชื่นในการทำงานเท่าที่ควร
-
หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ผู้ที่มีอาการปวดหลังจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่มีอาการปวดรอบๆ ต้นคอ ร้าวลงมาถึงไหล่ทั้ง 2 ข้าง หรือ 1 ข้าง และปวดหน่วงๆ ที่บริเวณรอบๆ เอว มักปวดเฉพาะตอนที่นั่งทำงานเป็นเวลานาน ยืนนาน หรือ เดินนาน โดยมักจะปวดร้าวมาแขน ขา รวมไปถึงผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่มีอาการปวดหลัง ปวดเอว เป็นครั้งคราวแบบมาๆ หายๆ ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า
-
โรคระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอักเสบ กรดไหลย้อน การฝังเข็มจะช่วยในการปรับสมดุลกระบวนการทำงานของกระเพาะอาหารให้มีความปกติมากยิ่งขึ้น ช่วยลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด จากปริมาณการหลั่งน้ำย่อยที่ลดลง ส่งผลดีต่อระบบทางเดินอาหารต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิต และเบาหวาน การฝังเข็มจะช่วยให้หลอดเลือดต่างๆ ขยายตัว การไหลเวียนเลือดสามารถไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้มากขึ้น ทั้งสมอง หัวใจ และแขน ขา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษาที่ควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน
-
โรคทางสูตินรีเวช
ผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือ ภาวะมีบุตรยาก หากได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นทางเลือกในการลดอาการปวดที่ไม่ใช้ยา ลดการรับประทานยาต่อเนื่อง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาแก้ปวด
-
นอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล
ผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับ มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หากรักษาด้วยการฝังเข็มจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดฟินทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ รู้สึกผ่อนคลาย และทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นและสามารถพักผ่อนได้เต็มที่มากขึ้น
-
โรคทางระบบประสาท
ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตใบหน้า หากรักษาด้วยการฝังเข็มจะช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่เสียหายฟื้นตัว ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้ดียิ่งขึ้นได้
-
ฝังเข็มเสริมความงาม
การฝังเข็มสามารถช่วยในด้านความสวยความงามได้ไม่ว่าจะเป็นการ กระชับผิวหน้า ลดสิว ฝ้า กระ ริ้วรอย หรือ ลดความอ้วน โดยการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอย และปรับสมดุลให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฝังเข็มไม่เหมาะกับใคร?
- ผู้ป่วยโรคผิวหนัง หรือ ติดเชื้อต่างๆ
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
- ผู้ป่วยโรคต่างๆ ที่ต้องได้รับการผ่าตัด
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด (มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบแข็งตัวของเลือด)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ (ที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ หรือ Pacemaker)
- ผู้ที่มีโรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันแน่นอน
- ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
การเตรียมตัวก่อนฝังเข็ม ที่ฮักษา คลินิก เชียงราย
ข้อแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็ม สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ควรศึกษาหาข้อมูลและทำความเข้าใจก่อน หรือ สามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจในกระบวนการรักษา ตลอดจนผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะได้หลังรับจากการฝังเข็ม
- รับประทานอาหารมาก่อนเข้ารับการฝังเข็มประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในปริมาณที่พอดีไม่อิ่มมากจนเกินไป
- ทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการฝังเข็ม เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรค
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม สามารถพับแขนเสื้อได้ หรือ สวมกางเกงขาสั้น เพื่อให้แพทย์ทำการฝังเข็มได้อย่างสะดวกมากขึ้น
การปฏิบัติตัวขณะทำการฝังเข็ม
- ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลายขณะทำการฝังเข็ม เมื่อมีเข็มปักคาผิวหนังบริเวณร่างกายควรนอน หรือ นั่ง ให้นิ่งที่สุด ไม่ควรขยับไปมารุนแรง แต่ส่วนที่ไม่มีเข็มสามารถเคลื่อนไหวได้หากไม่กระทบกับบริเวณที่ฝังเข็มอยู่
- อาจหลับตาเพื่อให้ร่างกายสงบและผ่อนคลาย หายใจเข้า-ออกอย่างช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ
การฝังเข็มควรรักษาบ่อยแค่ไหน?
การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานร่างกายของแต่ละบุคคล ควบคู่กับดุลพินิจของแพทย์ร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการฝังเข็มมักจะใช้เวลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยด้วย หรืออาจมีการรักษาวิธีการอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาดียิ่งขึ้น เช่น ครอบแก้ว นวดกดจุด สมุนไพรจีน เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการฝังเข็ม หรือ รักษาด้วยการฝังเข็มโดยแพทย์แผนจีนที่มีประสบการณ์ สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก
Facebook : ฮักษา คลินิก สาขา เชียงราย
LINE : @Hugsachiangrai
โทร. 095-656-1666
HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ