บอกลาปัญหาออฟฟิศซินโดรมด้วยการ shockwave Therapy

บอกลาปัญหาออฟฟิศซินโดรมด้วยการ Shock Wave Therapy

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ปัญหาคู่หนุ่มสาวออฟฟิศที่ปฏิเสธไม่ได้ นับว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศ หรือ ผู้ที่ต้องใช้ร่างกายทำงานด้วยท่าทางเดิม ใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ในปัจจุบันหลายคนมองหาวิธีการรักษา ออฟฟิศซินโดรม ที่ได้ผลและมีและมีประสิทธิภาพ โดยบทความนี้เราได้รวบรวมหนึ่งวิธีการรักษาที่ตอบโจทย์ด้วยการบำบัดที่มีชื่อว่า Shock Wave โดยเป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นแรงกระแทกในการรักษา ส่งผลต่อร่างกายถึงระดับเซลล์จึงสามารถเห็นผลการรักษาได้อย่างชัดเจน

มาทำความรู้จัก โรคออฟฟิศซินโดรม กันก่อน

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด เนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง รวมไปถึงกลุ่มอาการอักเสบของเอ็น เนื้อเยื่อ และอาการชาบริเวณปลายประสาทที่มีการกดทับเป็นเวลานาน 

สัญญาเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดร้าวไปสู่บริเวณต่างๆ ขณะทำท่าทางหรือขยับร่างกาย เช่น ปวดร้าวขึ้นแขน-ขา ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวไปที่ไหล่
  • ปวดหลัง ปวดต้นคอ มีอาการยึดเกร็งตลอดเวลา
  • มือชา แขนชา ปวดข้อมือ หรือมีอาการนิ้วล็อกและอาการอ่อนแรง
  • รู้สึกเหน็บชาที่ขา หรือ ปวดตึงบริเวณขา 
  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า ไหล่ หรือสะบัก โดยเป็นอาการที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน ส่วนใหญ่มักเป็นเรื้อรังไม่หายขาด
  • ตาพร่า หูอื้อ เหงื่อออก บางรายอาจมีอาการวูบและมึนงงร่วมด้วย

Shock Wave คืออะไร สามารถรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้จริงหรือ? 

Shock Wave Therapy หรือ การบำบัดด้วยการช็อคเวฟ เป็นการภาพบำบัดเพื่อรักษากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากออฟฟิศซินโดรม ด้วยการใช้เครื่องมือทันสมัยที่เป็นการใช้คลื่นแรงกระแทก ที่เกิดจากการอัดอากาศปริมาณสูงโดยที่คลื่นจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็วเหนือเสียง ส่งผลให้เกิดแรงกดที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งการ Shock Wave จะใช้กดบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือ บริเวณที่เป็นพังผืด ทำให้บริเวณนั้นๆ เกิดการบาดเจ็บใหม่และเซลล์กล้ามเนื้อจะเกิดกระบวนการซ่อมเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้อาการปวดลดลงได้ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดของร่างกาย และกระตุ้นให้ร่างกายผู้บำบัดหลั่งสารลดอาการปวดได้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการทำ Shock Wave จึงเป็นวิธีที่เห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนหลังจากการรักษา

 

Shock Wave ที่ใช้ในการรักษามีกี่ประเภท

การรักษาด้วยแรงกระแทก Shock Wave โดยทั่วไปมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

  • Radial shock Wave หรือ RSWT

คลื่นแรงกระแทกที่เกิดจากการอัดอากาศในปริมาณสูงจนทำให้เกิดแรงอัด (Pneumatic   compression or ballistic type) ซึ่งคลื่นที่เคลื่อนที่ได้ความเร็วเหนือเสียง ทำให้ความแรงของคลื่นนั้นเข้าสู่ชั้นผิวที่มีคอลลาเจนและอีลาสตินจำนวนมาก และเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อด้านล่างด้วยรูปแบบแผ่เป็นวงกว้าง

  • Focus shock Wave  หรือ FSWT

คลื่นแรงกระแทกที่เกิดจากแรงอัดโดยการกระตุ้นไฟฟ้ากับผลึกคริสตัล (Piezoelectric crystal) ใช้สำหรับการรักษาเฉพาะในส่วนผิวด้านในที่ลงลึก ช่วยสลายแคลเซียมที่เกิดขึ้นตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้อาการปวดลดลงและสามารถเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้แพทย์จะเลือกใช้คลื่นแรงกระแทกแต่ละประเภท ตามคุณลักษณะ ตำแหน่ง และชั้นผิวที่เป็นสาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรม เพื่อให้กลไกในการทำงานเป็นไปตามความเหมาะสม

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย Shock Wave มีจุดเด่นอย่างไร?

จุดเด่นของการรักษาด้วย Shock Wave ที่ทางการแพทย์เลือกใช้ คือ คุณลักษณะของ Shock Wave ที่สามารถส่งพลังงานผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายเกิดผลทางชีวภาพเนื้อเยื่อ หรือ Biological effects ดังต่อไปนี้

  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • สลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • เร่งกระบวนการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 
  • การกระตุ้นการอักเสบใหม่ในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง

 

Shock wave สามารถรักษาอาการใดได้บ้าง

  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง 
    • ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)
    • อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome)
    • อาการปวดคอ, บ่า, หลัง เรื้อรัง
  • อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    • ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (De-Quervain’s)
    • เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Shoulder tendinitis)
    • เอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis elbow)
    • รองช้ำ (Plantar fasciitis)
    • เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)
    • เส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ (Tendon calcification)
  • กลุ่มอาการอื่นๆ 
    • นิ้วล็อค (Trigger finger)
    • ข้อไหล่ติดจากเยื่อหุ้มข้ออักเสบ(Capsulitis)
    • พังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) 
    • ข้อเสื่อมอักเสบ (Osteoarthritis)

ข้อจำกัดของ Shock wave ในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

นอกเหนือจากข้อดีของ Shock wave ที่แพทย์เลือกนำมาใช้ในการรักษาตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม Shock wave ก็มีข้อจำกัดที่ควรระวังและมีผลข้างเคียงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ควรใช้ Shock wave บริเวณกล้ามเนื้อตำแหน่งปอด กล้ามเนื้อคอ หลังใบหู และช่องท้อง
  • ไม่ควรใช้ Shock wave กับหญิงตั้งครรภ์ และ เด็ก
  • ไม่ควรใช้ Shock wave กับผู้ที่มีบาดแผลบริเวณผิวหนัง หรือ เป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนัง
  • ไม่ควรใช้ Shock wave บริเวณเส้นเลือดขอด หรือ เส้นเลือดอุดตัน
  • ไม่ควรใช้ Shock wave กับผู้ป่วยที่ใส่ Peacemaker

ในส่วนของผลข้างเคียงจากการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย Shock wave คือขณะทำการรักษาจะทำให้เจ็บบริเวณที่มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์สามารถปรับพลังงานให้มีความเหมาะสมกับผู้รักษาได้ โดยหลังจากรักษาเสร็จสิ้นจะทำให้ระบม ล้า บริเวณนั้นๆ หากมีอาการระบมมากแพทย์จะแนะนำให้ประคบเย็น 15-20 นาที เป็นเวลาติดต่อกัน 1-2 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวด

คำถามที่พบบ่อย

รักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วย Shock wave ที่ไหนดี?

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง และต้องการเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ควรศึกษาแนวทางการรักษาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เนื่องจากในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีให้เลือกรักษา ทั้งนี้ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและบริเวณที่ทำให้เกิดอาการเรื้อรัง หลังจากนั้นหากมีความสนใจในการรักษาด้วยการ Shock wave ก็สามารถทำได้ โดยเลือกสถานพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ มีนักกายภาพบำบัด หรือ แพทย์ คอยให้คำแนะนำตลอดการรักษา 

รักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วย Shock wave เจ็บไหม?

ขณะทำการรักษาด้วย Shock wave จะมีความรู้สึกเจ็บเป็นปกติ เนื่องจากกลไกการทำงานของคลื่นแรงกระแทกทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและสร้างกล้ามเนื้อใหม่ขึ้น ทั้งนี้อาการเจ็บหรือปวดจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล รวมถึงเน้นการรักษาบริเวณใดของร่างกายด้วย

รักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วย Shock wave ต้องทำกี่ครั้ง?

การทำ Shock wave แพทย์จะแนะนำให้ทำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของร่างกายที่เหมาะสม และเป็นการเว้นระยะให้ร่างกายได้พักฟื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรทำ Shock wave ต่อเนื่องอย่างน้อย 3-4 ครั้ง หรือ ตามการประเมินของแพทย์

สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม หรือ ต้องการตรวจรักษาด้วยวิธีการ Shock Wave สามารถติดต่อสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ฮักษาคลินิก 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE: @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ