รู้หรือไม่ อายุน้อยก็เกิดเส้นเลือดสมองแตกได้ (Stroke in the young)

รู้หรือไม่ อายุน้อยก็เกิดเส้นเลือดสมองแตกได้ (Stroke in the young)

             โรคเส้นเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดบริเวณใกล้สมองมีภาวะพองและปริแตกออก ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนที่อยู่ในหลอดเลือดนั้น ไม่สามารถส่งไปเลี้ยงสมองได้อย่างที่ควรเป็น ซึ่งสาเหตุที่ผนังหลอดเลือดเกิดภาวะพองแตกหรือที่เรียกกันว่าเส้นเลือดสมองแตกได้นั้น มักพบได้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดโป่งพอง ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคเลือดผิดปกติ โดยผู้ที่มีภาวะหรือโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จึงทำให้โรคเส้นเลือดสมองแตกถูกมองว่าเป็นหนึ่งในโรคอันตรายสำหรับผู้สูงอายุไปด้วย แต่รู้หรือไม่ว่าในปัจจุบันนี้ มีผู้ที่ประสบกับโรคเส้นเลือดสมองแตกทั้งที่อายุน้อยอยู่เช่นกัน ทั้งยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

โรคเส้นเลือดสมองแตก คือโรคของผู้สูงอายุจริงหรือไม่

             โรคเส้นเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีปัจจัยอื่นหรือโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เลยช่วงวัย 40 ปีขึ้นไปแล้ว สภาพต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ ก็จะมีโรคร้ายต่าง ๆ ฉวยโอกาสที่ร่างกายอ่อนแอถดถอยแสดงอาการ จึงส่งผลเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกได้ง่ายขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง ทำให้โรคเส้นเลือดสมองแตกเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตในผู้สูงอายุกันเลยทีเดียว

             ซึ่งจากสถิติทางการแพทย์แล้ว หลังจากพ้นช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกของคนเราก็จะเพิ่มขึ้นทุกปี ยิ่งเมื่อหลังจากพ้นช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไปแล้ว ความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกนั้นสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยถึงเท่าตัวเลยทีเดียว นอกจากนี้ในบรรดาผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองแตกทั้งหมด ก็พบว่ากว่า 70% คือผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

             แต่ถึงอย่างนั้น ก็ใช่ว่าโรคเส้นเลือดสมองแตกจะเกิดแค่กับผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียวเสมอไป เนื่องจากในปัจจุบัน ก็มีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ทั้งที่อายุไม่ถึง 50 หรือ 40 ปี ก็สามารถประสบกับโรคเส้นเลือดสมองแตกได้แล้ว

ปัจจัยการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตกในคนอายุน้อย

             โดยในทางการแพทย์ ยังไม่สามารถทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตกในคนอายุน้อยได้ ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างไร แต่ก็สามารถสรุปหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ อุดตัน และแตกได้ ว่าถ้าหากเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้จะมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดสมองได้มากกว่าบุคคลทั่วไป

1. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

             สาเหตุอันดับหนึ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก ซึ่งเหมือนกันทั้งในผู้ที่มีอายุน้อยและอายุมาก ไม่ว่าจะเพศใด ก็คือภาวะความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูงจากโรคเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง หรือจากภาวะอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงก็ตาม โดยในทางการแพทย์ภาวะความดันโลหิตสูงนั้นสามารถส่งผลต่อโรคหลอดเลือดในสมองได้สูงถึง 47% เลยทีเดียว อีกทั้งสถิติของผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเองก็มีช่วงอายุที่น้อยลงเช่นกัน จึงไม่แปลกที่จะส่งผลต่อเนื่องต่อสถิติของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองแตกด้วยเช่นกัน

2. ผู้ที่สูบบุหรี่

             ผู้ที่สูบบุหรี่นั้นมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว การสูบบุหรี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก ยิ่งเป็นผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่เร็วเท่าไร ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้เป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกในตอนอายุยังน้อยมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งสถิติในทางการแพทย์ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเคยเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ถึง 56%

3. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์

             แอลกอฮอล์นั้นสามารถส่งผลทำให้เส้นเลือดเปราะแตกง่าย เมื่อเลือดออกก็จะทำให้หยุดการแข็งตัวของเลือดได้ยาก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหรือดื่มในปริมาณมาก จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตกได้ง่ายกว่าผู้อื่น โดยไม่สำคัญว่าจะอายุมากหรือน้อยเท่าไร นอกเหนือจากนี้แล้วการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้เกิดโรคอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างความดันโลหิตสูงได้ด้วย

4. ผู้ที่มีภาวะอ้วน

             ภาวะอ้วนลงพุงหรือ Abdominal Obesity เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป จนส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคหลอดเลือดสมองด้วย ทางการแพทย์เองก็ได้มีสถิติว่าผู้ที่มีภาวะอ้วนจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากถึง 66% ซึ่งจะเรียกว่ามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ก็คงได้ ดังนั้นใครที่พบว่าตัวเองมีภาวะอ้วน มีอาการลงพุง ดัชนีมวลกายสูงหรือมีเส้นรอบเอวที่เกินกว่าค่ามาตรฐาน จึงไม่ควรประมาทและดูแลรักษาสุขภาพโดยเร็ว

5. สตรีที่ทานยาคุมกำเนิดหรือตั้งครรภ์

             สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยสามารถเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้จากยาคุมกำเนิดบางชนิด เนื่องจากยาคุมเหล่านั้นมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง และจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้สูงกว่าปกติถึง 2.75 เท่า นอกเหนือจากนี้แล้วการตั้งครรภ์เอง ก็สามารถที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะโรคครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ สตรีมีครรภ์จึงควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

6. ผู้ที่มีโรคหัวใจ

             ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การมีรูที่ผนังห้องหัวใจ หรืออื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ก็สามารถเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ อุดตัน และแตกได้

7. ผู้ที่มีโรคเกี่ยวข้องกับหลอดเลือด หรืออื่น ๆ

             สำหรับผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ด้านหน้าคอปริแตก หรือคอด้านหลังปริแตก การหมุนบิดคอรุนแรงจากการนวด ผู้ประสบอุบัติที่เกี่ยวข้องทางรถยนต์ หรือโรคที่เกิดจากพันธุกรรมอื่น ๆ เองก็เป็นสามารถเพิ่มปัจจัยความเสี่ยงที่ของการเป็นโรคเส้นเลือดตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดสมองแตกแม้ว่าอายุยังน้อยได้เช่นกัน

 

การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในช่วงอายุน้อย

             ถึงแม้ว่าโรคเส้นเลือดสมองแตกจะเป็นโรคที่ค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากสามารถทำให้อาการทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ แต่สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยนั้น ยังสามารถที่จะฟื้นฟูร่างกายตัวเองได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้มากกว่าหากเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

             แต่ถ้าหากคุณตระหนักได้ถึงความอันตรายของโรคนี้ แล้วไม่ต้องการที่จะเสียเวลาชีวิตในช่วงอายุน้อยไปกับการบำบัดและการรักษาในโรงพยาบาล ก็สามารถที่จะป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตกได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

1. ควบคุมน้ำหนักและโภชนาการให้เหมาะสม

             สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน มีดัชนีมวลกายที่ค่อนข้างสูง ควรที่จะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานผักและผลไม้ ลดอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอล อาหารรสจัด อาหารเค็ม อาหารมันต่าง ๆ 

2. ลดการสูบบุหรี่

             สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ควรที่จะลดการสูบลงทีละน้อย รวมถึงหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองด้วย

3. ลดการดื่มแอลกอฮอล์

             ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ประจำนั้น ควรที่จะเริ่มจากการลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มทีละน้อย หรืออาจจะเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายจากการลงแดงเมื่อหยุดทานกะทันหัน

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

             วิธีที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ก็ยังคงไม่พ้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้ศึกษาการออกกำลังกายให้ถูกต้องจากอินเทอร์เน็ต หรือขอคำปรึกษาจากเทรนเนอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บหรือได้รับอันตรายจากการหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป 

5. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง

             การตรวจสุขภาพประจำปีเอง ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากภาวะบางอย่างหรือโรคบางโรคก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ การตรวจสุขภาพจะทำให้คุณได้รู้ว่าสภาพร่างกายของคุณในปัจจุบันเป็นอย่างไร อีกทั้งยังสามารถที่จะรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้อีกด้วย

แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยตรวจสุขภาพ ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีที่ไหน หรือต้องการที่จะเข้ารับการปรึกษาสุขภาพจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะดูแลคุณในทุก ๆ ด้าน ทางเราก็ขอแนะนำให้คุณฝากสุขภาพเอาไว้กับ ฮักษาคลินิก

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE : @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.