สัญญาณสมองเสื่อม

10 สัญญาณอันตราย เข้าใกล้ภาวะสมองเสื่อม

10 สัญญาณอันตราย เข้าใกล้ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia Syndrome หนึ่งในโรคทางสมองที่สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้สูงอายุและคนครอบครัวอย่างมาก เนื่องจากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยในระยะยาว ทำให้หลายคนหันมาศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณอันตรายเพื่อระวังภาวะสมองเสื่อมกันมากขึ้น บทความนี้ Hugsa เราจึงได้รวบรวมอาการเริ่มต้นที่บ่งบอกได้ว่าอาจมีความเสี่ยงเข้าใกล้ภาวะสมองเสื่อม ให้ได้สังเกตพร้อมกับเฝ้าระวังญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวหากเห็นความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ควรนำตัวเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร?

ภาวะสมองเสื่อม คือ อาการผิดปกติทางสมองที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสามารถทางสติปัญญาลดลง กระทบต่อความจำความคิด รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุด้วยสาเหตุหลักที่พบได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง ขาดวิตามิน หรือโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ชิฟิลิส และเอดส์ เป็นต้น โดยภาวะสมองเสื่อมจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมง่าย การสื่อสารและใช้ภาษาที่ผิดปกติ รวมไปถึงพฤติกรรมท่าทางอารมณ์ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งโดยลักษณะของโรคสมองเสื่อมนั้นจะค่อยๆ ลุกลามอย่างช้าๆ เริ่มต้นจจากการสูญเสียเซลล์สมองจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนหนึ่งเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานหลายสิบปีความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นได้ชัดมากยิ่งขึ้น

ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในคนอายุน้อย

โดยทั่วไปภาวะสมองเสื่อมมักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามจากสถิติพบว่า 6.9% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมดมีอายุเพียง 35-65 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทำงานสามารถป่วยด้วยโรคนี้ได้เช่นกัน โดยทางการแพทย์เรียกว่า Dementia in younger ที่มีสาเหตุหลักมาจากความเครียดในการทำงาน หรือ ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน แต่ทว่าหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของภาวะเครียดที่เป็นปกติของคนวัยนี้ จึงละเลยการดูแลรักษาตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้ภาวะสมองเสื่อมลุกลามรุนแรงมากขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมในคนอายุน้อย

  • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ สูบบุหรี่เป็นประจำ ซึ่งแอลกอฮอล์ส่งผลให้การดูดซึมวิตามินบี 12 ที่ลดน้อยลง อีกทั้งหากดื่มในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องอาจทำลายสมองส่วนต่างๆ ให้ทำงานผิดปกติได้ ในส่วนของบุหรี่จะส่งผลทำให้เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบได้
  • ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบและทำให้เซลล์ในสมองตายได้
  • พบประวัติคนในครอบครัวมีภาวะสมองเสื่อมตอนอายุน้อย
  • ฮอร์โมนไทรอยด์มีระดับต่ำกว่าปกติ
  • ร่างกายขาดวิตามินบี 12 เป็นระยะเวลานาน
  • เนื้องอกสมอง หรือ ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • การติดเชื้อในสมอง เช่น ซิฟิลิส เอชไอวี และ ไวรัสอื่นๆ

10 สัญญาณอันตราย เข้าใกล้ภาวะสมองเสื่อม

อันตรายจากภาวะสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่สามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ โดยจะต้องอาศัยความเข้าใจและใส่ใจกับพฤติกรรมต่างๆ ของผู้สูงอายุในครอบครัว ซึ่งควรให้ความสำคัญพร้อมทั้งตระหนักถึงการรักษาที่ทันท่วงที เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกทั้งเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม ด้วยการสังเกต 10 สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้

  • สูญเสียความจำในเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน

จุดเริ่มต้นของอาการสมองเสื่อมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน นั่นก็คือการหลงลืม สูญเสียความจำ หรือ ลืมในเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน จำไม่ได้ว่าตนเองหรือคนอื่นทำอะไรไปแล้ว พูดอะไรไปบ้าง ทำให้ต้องนึก คิด ประมวลความคิดอยู่นานกว่าจะจำได้

  • การตัดสินใจต่างๆ ด้อยลงจากเดิมอย่าง

การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันด้อยถอยลงไปจากเดิม ตัดสินใจเรื่องพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การวางสิ่งของในที่ที่ไม่ควรวาง การเปิดแอร์หรือเปิดพัดลมด้วยความเคยชินแต่เปิดแรงทั้งที่อากาศไม่ได้ร้อน เป็นต้น

  • ทำกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก หรือ ทำได้ไม่เหมือนเดิม

การทำกิจวัตรประจำวันของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้น มักจะไม่สามารถทำได้อย่างปกติหรือเต็มที่อย่างเคย แม้ว่าจะเป็นกิจวัตรที่คุ้นเคยก็ตาม อาจทำให้ได้ยากขึ้นจากการหลงลืม การตัดสินใจที่แย่ลง ไปจนถึงหทักษะในการสื่อสารที่ถดถอยลงตามไปด้วย

  • มีปัญหาในการสื่อสารเนื่องจากการใช้ภาษาที่ผิดความหมาย

การหลงลืมคำศัพท์ง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เป็นสัญญาภาวะสมองเสื่อมที่สังเกตได้ง่าย ด้วยการเลือกใช้คำศัพท์ต่างๆ ผิดรูปประโยค ผิดความหมาย หรือ รูปประโยคไม่สอดคล้องกับสถานะการณ์ขณะนั้น เป็นต้น

  • สับสน หลงลืม วันเวลาและสถานที่

มีอาการสับสนหลงลืมวันเวลา ไม่สามารถบอกที่อยู่บ้านของตนเองได้ ใช้เวลาในการนึกสถานที่ที่คุ้นเคยเป็นเวลานานหรือแทบจะไม่สามารถบอกได้เลย มักมีการสอบถามคนรอบข้างย้ำซ้ำๆ เมื่อนึกถึง

  • ทักษะเกี่ยวกับความคิดและการคำนวณแย่ลง

ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับความคิด วิเคราะห์ และการคำนวณรวบยอดต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีปัญหาเหล่านี้ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถบวกลบคูณหารพื้นฐานทั่วไปได้อย่างแต่ก่อน

  • บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนไป

ภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจะทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไป กลายเป็นคนช่างถามกับเรื่องเดิมๆ ที่ตัวเองเคยทำเป็นประจำ กลายเป็นคนคนหวาดกลัวง่ายไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเองเนื่องจากความทรงจำต่างๆ อาจส่งผลให้ตนเองกลัวหรือไปกระทบคนรอบข้าง เป็นต้น

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายภายในเวลาเพียงไม่นาน

ผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายภายในเวลาเพียงไม่นาน มีความแปรปรวนทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลต่อการตัดสินใจและการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งคนรอบข้างจะสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและไม่สามารถเดาอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นได้

  • มีพฤติกรรมไม่อยากพบเจอผู้คน ชอบเก็บตัว

หากมีอาการชอบเก็บตัวและสังเกตได้ชัดว่าผู้สูงอายุขาดความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต มักจะนั่งหรือนอนทั้งวันโดยไม่ทำกิจวัตรที่ตนเคยทำเป็นนิสัย เริ่มไม่อยากพบเจอผู้คนรอบตัว อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

  • มีพฤติกรรมในการเก็บสิ่งของผิดที่ผิดทาง

เนื่องมาจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลง จึงส่งผลให้การวิเคราะห์พื้นฐานในชีวิตประจำวันถดถอยลงไปด้วย ทำให้เก็บสิ่งของต่างๆ ไว้ผิดที่ผิดทาง อาจเก็บไว้ในที่ที่ไม่ควรเก็บหรือไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น เก็บรีไมททีวีไว้ในตู้เย็น เก็บนาฬิกาไว้ในโถเก็บขนม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณเตือนสำคัญที่คนในครอบครัวสามารถสังเกตผู้สูงอายุได้ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันจุดเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่แนวทางการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่ง ฮักษาคลินิก เรายินดีให้คำแนะนำรวมถึงบริการตรวจรักษาโรคสมองเสื่อมกับทุกท่าน โดยสามารถสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ 

เบอร์โทร : 096-696-1999

LINE: @hugsa

Facebook : HUGSAMedical

HUGSA MEDICAL | รักษาด้วยหัวใจ ห่วงใยดุจญาติมิตร ใกล้ชิดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ